ผลการประชุมสรุปผลการดำเนินงาน
โครงการ “รักษ์น้ำน้ำเพื่อพระแม่ของแผ่นดิน” ประจำปีงบประมาณ 2562
วันที่ 3 กันยายน 2562
************************************
ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มอบหมายให้นายสุดสาคร ภัทรกุลนิษฐ์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานการประชุม ซึ่งได้มอบนโยบายของกระทรวงฯ ที่สำคัญ คือเรื่องการบูรณาการการทำงานระหว่างหน่วยงาน เพื่อเป็นประโยชน์และไม่รบกวนเวลาของเกษตรกร และการผลิตอาหารปลอดภัย/เกษตรอินทรีย์ รวมทั้งการทำงานให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์จังหวัด กลุ่มจังหวัด และภาค เพื่อให้ได้รับการสนับสนุนงบประมาณ
ในการประชุมมีผู้แทนจากทุกๆจังหวัด ทั้ง 7 จังหวัด มาร่วมเสนอผลงาน และมีที่ปรึกษา (มหาวิทยาลัยแม่โจ้) เสนอความก้าวหน้าจากการประเมินกึ่งกลางแผนแม่บทโครงการ “รักษ์น้ำเพื่อพระแม่ของแผ่นดิน” โดยมีผลการประชุมที่สำคัญและข้อเสนอแนะจากการประชุมดังนี้
- การประเมินกึ่งกลางแผน (2 ปี) อยู่ระหว่างการดำเนินงาน 5 ลุ่มน้ำ มีความก้าวหน้าดังนี้
- เกษตรกรที่ได้รับการส่งเสริมมีรายได้เพิ่มขึ้น 16 % (จากเป้าหมายของแผน 20%)
- มีการจัดทำแผนและมีการใช้ประโยชน์ที่ดินถูกต้องตามแผน
- มีการจัดการน้ำอย่างเป็นระบบ
- มีการติดตามงานทั้งจากส่วนกลางและระดับปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอ
- มีศูนย์เรียนรู้ในแต่ละลุ่มน้ำและมีการนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
สำหรับประเด็นอื่นๆ อยู่ระหว่างการเก็บข้อมูลเพิ่มเติม และรอรายงานจากหน่วยงานที่รับผิดชอบ
|
|
|
- ทุกจังหวัดรายงานผลตามแผนปฏิบัติการ โดยแต่ละลุ่มน้ำมีการกำหนดหมู่บ้านหลัก และดำเนินการตามยุทธศาสตร์ 3 ด้าน คือ ด้านการพัฒนาและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ด้านการส่งเสริมอาชีพและการพัฒนาคุณภาพชีวิต และการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการ
- ด้านการพัฒนาและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมโดยใช้แผนที่การใช้ประโยชน์ที่ดินควบคุมไม่ให้บุกรุกป่า และเพิ่มพื้นที่ป่า และพื้นที่สีเขียว การอนุรักษ์ดินและน้ำ การปลูกไม้ผลแทนพืชไร่ การปลูกชา กาแฟ การลดการใช้สารเคมีโดยชีวภัณฑ์และปุ๋ยธรรมชาติ
- ด้านการส่งเสริมอาชีพและการพัฒนาคุณภาพชีวิต ได้มีการส่งเสริมการผลิตผักปลอดภัย และผักอินทรีย์ โดยมีตลาดรองรับ มีกลุ่มเกษตรกรจัดการผลผลิตและการตลาด และเชื่อมโยงระหว่างกลุ่มในลุ่มน้ำ และระหว่างลุ่มน้ำ มีกลุ่มวิสาหกิจชุมชนจัดการผลผลิต การแปรรูป และการตลาด มีการจัดสวัสดิการให้กลุ่มเป้าหายในระดับต่างๆ
- ด้านการเพิ่มประสิทธิภาพและการบริหารจัดการ มีหน่วยงานมาร่วม สนับสนุน 25 หน่วยงาน มากกว่าแผนที่มี 20 หน่วยงาน ให้ความสำคัญในการใช้แผนที่และการจัดทำฐานข้อมูลกลางในการบูรณาการระหว่างหน่วยงาน แต่ละลุ่มน้ำมีแปลงเรียนรู้ของเกษตรกรเพื่อการขยายผล และในงบประมาณ 2562 ลุ่มน้ำภาค จังหวัดพิษณุโลก ได้รับรางวัลเลิศรัฐในระดับประเทศ ในการส่งผลงานการบริหารจัดการ “โครงการพัฒนาและส่งเสริมการผลิตพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของจังหวัดพิษณุโลก ภายใต้โครงการ “รักษ์น้ำเพื่อพระแม่ของแผ่นดิน”
|
|
|
ข้อสังเกตและข้อเสนอแนะจากการประชุม
- เพื่อให้การรายงานผลมีลักษณะของการบูรณาการ และกระชับจึงควรเสนอผลงานในแผนที่แสดงผลงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเป็นผลผลิต ผลลัพธ์ และผลกระทบ โดยรายละเอียดแสดงเป็นตาราง หรือในรูปแบบแผนที่
- ให้เปรียบเทียบงบประมาณที่ได้รับกับงบประมาณตามแผน และให้ความสำคัญของความคุ้มค่าของงบประมาณโดยเปรียบเทียบกับผลประโยชน์ที่ได้รับ
- กิจกรรมบางประเภท เช่น การฝึกอบรมและการนำไปใช้ประโยชน์ การปล่อยสัตว์น้ำ หรือการเลี้ยงปศุสัตว์ หากสามารถประเมินผลเป็นตัวเงินก็จะนำมารวมเป็นรายได้ที่เพิ่มขึ้นของเกษตรกรได้
- ควรใช้แปลงสาธิตการส่งเสริมแปลงตามหลักปรัญญาเศรษฐกิจพอเพียง เป็นพื้นที่ที่มีการบูรณาการทั้งด้านพืช สัตว์ และประมง
- ความเชื่อมโยงผลผลิตทางการเกษตรกับแหล่งท่องเที่ยวเพื่อเป็นแหล่งจำหน่ายผลผลิต และอาจพัฒนาแหล่งผลิตเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงการเกษตร/นิเวศ เช่น สวนผลไม้ นาขั้นบันไดฯ
- การมีผู้ประสานงานประจำอยู่ในพื้นที่มีผลต่อความสำเร็จของโครงการ เพราะสามารถเชื่อมโยงงานของหน่วยงานได้อย่างต่อเนื่องตรงกับความต้องการของชุมชน
- การพัฒนาฐานข้อมูลกลาง จะเป็นเครื่องมือในการวางแผนและบูรณาการระหว่างหน่วยงาน และเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการในทุกระดับ โดยเฉพาะการเชื่อมโยงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานกับอาชีพ การใช้ประโยชน์ของที่ดิน และการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
- ควรใช้กลไกของกลุ่มเกษตรกรเชื่อมโยงผลผลิตของสมาชิกสู่แหล่งตลาด เพื่อลดต้นทุนการผลิต การจัดการโลจิสติกส์ โดยควรส่งเสริมการร่วมมือระหว่างกลุ่มทั้งใน และระหว่างลุ่มน้ำ
- ให้ทุกหน่วยงานเสนอรายละเอียดของผลงานให้ฝ่ายเลขานุการสรุปเสนอต่อคณะกรรมการบริหารเพื่อรับทราบและพิจารณาสั่งการต่อไป