พื้นที่โครงการหลวง

เมื่อปีพุทธศักราช 2512 พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เสด็จพระราชดำเนินไปทอดพระเนตรชีวิตของชาวเขาที่ บ้านดอยปุยใกล้พระตำหนักภูพิงคราชนิเวศน์ จึงทรงทราบว่าชาวเขาปลูกฝิ่นแต่ยากจน รับสั่งถามว่านอกจากฝิ่นขายแล้ว เขามีรายได้จากพืชชนิดอื่นอีกหรือเปล่า ทำให้ทรงทราบว่า นอกจากฝิ่นแล้ว เขายังเก็บท้อพื้นเมืองขาย แม้ว่าลูกจะเล็กก็ตาม แต่ก็ยังได้เงินเท่าๆกัน โดยที่ทรงทราบว่า สถานีทดลองดอยปุย ซึ่งเป็นสถานีทดลองไม้ผลเขตหนาว ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้นำกิ่งพันธุ์ท้อลูกใหญ่มาต่อกับต้นตอท้อพื้นเมืองได้ ให้ค้นคว้าหาพันธุ์ท้อที่เหมาะสมสำหรับบ้านเรา เพื่อให้ได้ท้อผลใหญ่ หวานฉ่ำ ที่ทำรายได้สูงไม่แพ้ฝิ่น โดยพระราชทานเงินจำนวน 200,000 บาท ให้มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สำหรับจัดหาที่ดินสำหรับดำเนินงานวิจัยไม้ผลเขตหนาวเพิ่มเติมจากสถานี วิจัยดอยปุยซึ่งมีพื้นที่คับแคบ ซึ่งเรียกพื้นที่นี้ว่า สวนสองแสน ต่อมาทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ตั้งโครงการหลวงขึ้น

โครงการหลวงเริ่มต้นจากโครงการที่ประกอบด้วยผู้ที่เป็นอาสาสมัครและเป็นข้าราชการในกระทรวง ทบวง กรมต่างๆ ของไทย และเป็นผู้เชี่ยวชาญที่มาจากต่างประเทศ ในที่สุดเป็นโครงการที่มากมายใหญ่โตขยายออกไปจากการช่วยประชาชนในหมู่บ้าน ในวงจำกัด จนกระทั่งเป็นการช่วยเหลือเท่ากับเป็นภาคทีเดียว จึงต้องมีการบริหารที่ดีขึ้น และก็มีคนได้ช่วยบริจาคเงินและสิ่งของ เพื่อที่จะให้โครงการนี้ดำเนินไปตามจุดประสงค์ คือ ความกินดีอยู่ดีของประชาชน ต่อมาจึงได้เปลี่ยนแปลงเป็น “มูลนิธิโครงการหลวง” เพื่อที่จะให้กิจการนี้ดำเนินต่อไปได้อย่างสม่ำเสมอ ในการที่ได้รับความร่วมมือจากส่วนราชการต่างๆ อย่างดีโดยเอื้อเฟื้อบุคลากรและ งบประมาณที่จะช่วยให้ทำได้ตามจุดประสงค์...”

 

ที่มา: เว็บไซต์มูลนิธิโครงการหลวง "50 ปี โครงการหลวง ต้นแบบการพัฒนาพื้นที่สูงแบบยั่งยืน"

 

ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงมีทั้งหมด จำนวน 39 ศูนย์ ตั้งอยู่ในพื้นที่ 6 จังหวัดภาคเหนือตอนบน ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย แม่ฮ่องสอน พะเยา ลำพูน และตากพื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ในระดับความสูงเกินกว่า 800 เมตรจากระดับน้ำทะเล มีสภาพเป็นพื้นที่ในหุบเขาหรือพื้นที่ตามเชิงเขาที่มีความลาดชัน อยู่ในท้องถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกลจากชุมชนทั่วไป ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ป่าสงวนจึงต้องการการดูแลอย่างใกล้ชิด ไม่ให้เกิดการชะล้างพังทลายของผิวหน้าดินและเกิดผลกระทบกับสิ่งแวดล้อม เพื่อให้เกิดความชัดเจนในการปฏิบัติงานจึงแบ่งกลุ่มพื้นที่ของศูนย์พัฒนาโครงการหลวงออกเป็น 3 กลุ่ม ตามระดับความสูง ดังนี้

  ศูนย์ ที่ตั้ง ความสูง (ม.)
1. แกน้อย ต.เมืองนะ อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ 1,010
2. ขุนแปะ ต.บ้านแปะ อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่ 1,035
3. ขุนวาง ต.แม่วิน อ.แม่วาง จ.เชียงใหม่ 1,220
4. ตีนตก ต.ห้วยแก้ว อ.แม่ออน จ.เชียงใหม่ 755
5. ทุ่งเรา ต.สะเมิงใต้ อ.สะเมิง จ.เชียงใหม่ 760
6. ทุ่งเริง ต.บ้านปง อ.หางดง จ.เชียงใหม่ 620
7. ทุ่งหลวง ต.แม่วิน อ.แม่วาง จ.เชียงใหม่ 980
8. ปังค่า ต.ผาช้างน้อย อ.ปง จ.พะเยา 640
9. ปางดะ ต.สะเมิงใต้ อ.สะเมิง จ.เชียงใหม่ 900
10. ปางอุ๋ง ต.แม่ศึก อ.แม่แจ่ม จ.เชียงใหม่ 1,345
11. ป่าเมี่ยง ต.เทพเสด็จ อ.ดอยสะเก็ด จ.เชียงใหม่ 915
12. ผาตั้ง ต.ปอ อ.เวียงแก่น จ.เชียงราย 1,360
13. พระบาทห้วยต้ม ต.นาทราย อ.ลี้ จ.ลำพูน 480
14. ม่อนเงาะ ต.เมืองก๋าย อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่ 1,300
15. แม่โถ ต.บ่อสลี อ.ฮอด จ.เชียงใหม่ 1,180
16. แม่ทาเหนือ ต.ทาเหนือ อ.แม่ออน จ.เชียงใหม่ 520
17. แม่ปูนหลวง ต.แม่แวน อ.พร้าว จ.เชียงใหม่ 1,412
18. แม่แพะ ต.สะเมิงเหนือ อ.สะเมิง จ.เชียงใหม่ 840
19. แม่ลาน้อย ต.ห้วยฮ่อม อ.แม่ลาน้อย จ.แม่ฮ่องสอน 1,005
20. แม่สะป๊อก ต.แม่วิน อ.แม่วาง จ.เชียงใหม่ 580
21. แม่สะเรียง ต.ป่าแป๋ อ.แม่สะเรียง จ.แม่ฮ่องสอน 865
22. แม่สาใหม่ ต.โป่งแยง อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ 990
23. แม่หลอด ต.สบเปิง อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่ 680
24. แม่แฮ ต.แม่นาจร อ.แม่แจ่ม จ.เชียงใหม่ 1,200
25. เลอตอ ต.แม่ตื่น อ.แม่ระมาด จ.ตาก 880
26. วัดจันทร์ ต.บ้านจันทร์ อ.กัลยาณิวัฒนา จ.เชียงใหม่ 960
27. สะโงะ ต.ศรีดอนมูล อ.เชียงแสน จ.เชียงราย 400
28. หนองเขียว ต.เมืองนะ อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ 780
29. หนองหอย ต.แม่แรม อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ 1,185
30. หมอกจ๋าม ต.ท่าตอน อ.แม่อาย จ.เชียงใหม่ 470
31. ห้วยน้ำขุ่น ต.สันสลี อ.เวียงป่าเป้า จ.เชียงราย 1,075
32. ห้วยน้ำริน ต.แม่เจดีย์ใหม่ อ.เวียงป่าเป้า จ.เชียงราย 995
33. ห้วยโป่ง ต.แม่เจดีย์ใหม่ อ.เวียงป่าเป้า จ.เชียงราย 780
34. ห้วยลึก ต.ปิงโค้ง อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ 520
35. ห้วยแล้ง ต.ท่าข้าม อ.เวียงแก่น จ.เชียงราย 380
36. ห้วยส้มป่อย ต.ดอยแก้ว อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่ 1,134
37. ห้วยเสี้ยว ต.บ้านปง อ.หางดง จ.เชียงใหม่ 620
38. อ่างขาง ต.ม่อนปิ่น อ.ฝาง จ.เชียงใหม่ 1,400
39. อินทนนท์ ต.บ้านหลวง อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่ 1,280

ที่มา: คู่มือปฏิบัติการพื้นที่โครงการหลวง มูลนิธิโครงการหลวง (2551)

 

วีดิทัศน์แนะนำโครงการหลวง

วีดิทัศน์แนะนำโครงการหลวง (ภาษาไทย) (นำเสนองานโครงการหลวง 2563)

Royal Project Foundation (RPF) background information video (Presented for RPF Int'l Conference - SGDs)

Share this: