เมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2564 คณะผู้บริหารสถาบัน นำโดย ดร. ศิริพงศ์ หังสพฤกษ์ ที่ปรึกษาด้านการวางแผนและพัฒนาการเกษตร นายวิรัตน์ ปราบทุกข์ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง และ ดร.ทินรัตน์ พิทักษ์พงศ์เจริญ รองผู้อำนวยการสถาบัน ด้านบริหารจัดการ เข้าปฏิบัติงาน “ติดตามและนิเทศงานเสริมพลังและเติมเต็มความคิดสู่การแก้ปัญหาให้เกษตรกรและเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานในพื้นที่” ณ โครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวง 1) ขุนสถาน อ.นาน้อย จ.น่าน 2) น้ำแขว่ง อ.นาหมื่น จ.น่าน 3) และน้ำเคิม อ.นาหมื่น จ.น่าน และติดตามให้ข้อเสนอแนะการจัดการแปลงในพื้นที่ของเกษตรกร 3 แห่ง ได้แก่ บ้านเชตวัน อ.นาน้อย จ.น่าน บ้านต้นตองและบ้านน้ำอูน อ.นาหมื่น จ.น่าน
1. | ทำงานตามหลักโครงการหลวง | |
1.1 | ใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มีเหตุผล พอประมาณ มีภูมิคุ้มกันใช้ความรู้และคุณธรรม | |
1.2 | เน้นการพึ่งพาตนเอง ชุมชนเข้มแข็ง สร้างการมีส่วนร่วมระเบิดจากข้างใน | |
1.3 | บูรณาการประสานการทำงาน เป็นหัวใจในการสร้างความร่วมมือ | |
2. | การทำงานต้องเน้นการเก็บข้อมูลและนำมาใช้ประโยชน์และเน้นการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศสนับสนุนการทำงาน | |
3. | พัฒนาตามภูมิสังคม วางแผนการพัฒนารายหมู่บ้านเพื่อให้เกษตรกรผู้นำเป็นแกนหลักสร้างการมีส่วนร่วมในชุมชนแก้ไขปัญหาอย่างถ่องแท้ เข้าใจเหตุของปัญหา |
4. | พัฒนาด้านการตลาด พัฒนาเกษตรกรรายใหม่โดยให้เกษตรกรรายเดิมเป็นเกษตรกรต้นแบบและเน้นการช่วยเหลือเกษตรกรยากจนให้มากขึ้น |
5. | ใช้หลักธรรมาภิบาลต้องซื่อสัตย์และมีวินัยระหว่างเกษตรกรกับตลาดคู่ค้า |
6. | วิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงการพัฒนาในพื้นที่เชิงผลลัพธ์ร่วมกับเกษตรกรให้เกิดการคิดสิ่งที่ได้จากการพัฒนาตามแบบโครงการหลวงร่วมกัน |
7. | สร้างความเข้าใจพร้อมทั้งผลักดันให้เกษตรกรในพื้นที่จัดทำข้อมูลที่ดินรายแปลงเพื่อวางแผนการปรับระบบการปลูกพืชและจัดการแปลงปลูกพืชที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและใช้พื้นที่อย่างคุ้มค่า |
8. | ขับเคลื่อนการใช้ข้อมูลของ สวพส. เพื่อใช้ประโยชน์ในการวางแผนการดำเนินงานร่วมกับหน่วยงานและองค์กรชุมชนในระดับพื้นที่ |