1.
การดำเนินงานของแผนพัฒนาจังหวัดแม่ฮ่องสอน มีความเชื่อมโยงกับแผนปฏิบัติการด้านการพัฒนาพื้นที่สูงอย่างยั่งยืน ระยะ 5 ปี และร่วมผลักดันสู่การพัฒนาระดับท้องถิ่น โดยร่วมมือแก้ปัญหาระดับชุมชน ร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต สร้างรายได้ หลุดพ้นความยากจน มีอาชีพที่มั่นคง ภายใต้การใช้ที่ดินที่ถูกต้องเหมาะสม สร้างสภาพแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน
2.
การเพิ่มทางเลือกแก่ประชาชน โดยให้ความคิดความเข้าใจเรื่องพืชเชิงเดี่ยวที่กระทบต่อสิ่งแวดล้อม และความรู้ด้านการตลาดที่ถูกต้อง โดยนำองค์ความรู้โครงการหลวง กลไกระบบปฏิบัติการ เครือข่ายการทำงาน ผู้เชี่ยวชาญและระบบการจัดการ ของ สวพส. มาช่วยสนับสนุนการดำเนินงานเพื่อพัฒนาชุมชนพื้นที่สูงให้ประสบความสำเร็จ
3.
การประสานการทำงานกับคณะทำงานระดับจังหวัด และหน่วยงานของจังหวัด เพื่อจัดทำแผนงานโครงการสำคัญ ที่ตอบเป้าหมายเดียวกัน และใช้เป็นกลไกการขับเคลื่อนการพัฒนาเชิงพื้นที่ (Area base) โดยให้บรรจุกรอบงบประมาณในแผนพัฒนาจังหวัดแม่ฮ่องสอน ที่สอดคล้องกับแผนปฏิบัติการด้านการพัฒนาพื้นที่สูงอย่างยั่งยืน และเป็นแนวทางในการชี้แจงกรอบงบประมาณของจังหวัดแม่ฮ่องสอน
4.
การมุ่งเน้นพัฒนาปัจจัยพื้นฐาน ระบบไฟฟ้า การพัฒนาแหล่งน้ำ เส้นทางคมนาคมขนส่ง รวมทั้งพัฒนาคุณภาพชีวิตและสุขภาพอนามัย และการจูงใจเพื่อปรับเปลี่ยนอาชีพที่เหมาะสม ส่งเสริมการแปรรูป รักษาผลผลิตและการสร้างมูลค่าเพิ่มของสินค้า
5.
การร่วมจัดทำข้อมูลสำคัญกับจังหวัดแม่ฮ่องสอนเพื่อตรวจทานข้อมูลเพื่อใช้ในการวางแผนการพัฒนา เช่น การกำหนดพื้นที่เป้าหมายการดำเนินงานในระยะต่อไป ข้อมูลครัวเรือนยากจน เป็นต้น
6.
การวัดระดับ Happiness Index ตามแนวคิดการพัฒนาที่ยั่งยืน และเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs)
7.
การจัดตั้งศูนย์ประสานงานระดับพื้นที่ ในจังหวัดแม่ฮ่องสอน เพื่อเอื้ออำนวยต่อการประสานการทำงานในระดับพื้นที่ร่วมกัน
8.
การขยายพื้นที่ต้นแบบ"ห้วยน้ำใสโมเดล" ในโครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงสบเมยจ.แม่ฮ่องสอน ที่ได้รับรางวัลเลิศรัฐระดับดีเด่นและเป็นแนวทางปฏิบัติที่ดีตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ( SDG good practices)เพื่อให้เกิดผลสำเร็จในพื้นที่สูงอื่นๆ ต่อไป