กาแฟของพ่อ....สู่การพัฒนาพื้นที่สูงอย่างยั่งยืน

กาแฟ 29 สิงหาคม 2562

เขียน / เรียบเรียงเรื่อง: สิทธิเดช ร้อยกรอง (นักวิชาการ)

พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงก่อตั้งโครงการหลวง ปี พ.ศ. 2512 จึงได้เริ่มมีการส่งเสริมให้เกษตรกรชาวเขาปลูกพืชเมืองหนาวเพื่อทดแทนการปลูกฝิ่น และทรงมีพระราชวินิจฉัยต่อการวิจัยและส่งเสริมการปลูกกาแฟอราบิก้า เพื่อเป็นรายได้แทนการปลูกพืชเสพติด

การเสด็จทอดพระเนตรสวนกาแฟของเกษตรกรบ้านหนองหล่ม ดอยอินทนนท์ ด้วยพระบาทในพื้นที่ยากลำบากนั้น ทรงรับสั่งว่า “คุ้มที่ทรงเหนื่อยเพราะชาวบ้านดีใจที่เสด็จฯ และทำให้เขาเชื่อว่ากาแฟนี้ดี ควรปลูก ข้อที่สำคัญขึ้นไปอีกก็คือ ทางราชการให้การสนับสนุนอย่างเข้มแข็งขึ้งไปอีก จนทำให้โครงการหลวงมีเมล็ดพันธุ์กาแฟอะราบิก้าซึ่งโครงการใดๆ ก็ตามในประเทศไทย จำต้องนำเอาไปใช้ ถ้าจะให้ปลูกได้สำเร็จ”

(บทพระราชนิพนธ์ของหม่อมเจ้าภีศเดช รัชนี จากหนังสือพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและโครงการหลวง)

 

เก็บเกี่ยวกาแฟ

เก็บเกี่ยวกาแฟ

กาแฟโครงการหลวง 100% Arabica Coffee

 

ความสำคัญของกาแฟอราบิก้า

ด้านเศรษฐกิจ “กาแฟอราบิก้า” เป็นพืชที่โครงการหลวงส่งเสริมให้เป็นพืชสร้างรายได้และทดแทนฝิ่น มีศักยภาพด้านตลาด ความต้องการใช้เมล็ดกาแฟไทยเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ด้านสิ่งแวดล้อม กาแฟเป็นพืชยืนต้น และปลูกร่วมกับระบบวนเกษตร (Agroforestry) บนพื้นที่สูง
 

ระดับความสูงของพื้นที่เพาะปลูกมีผลต่อรสชาติกาแฟ

กาแฟสายพันธุ์อาราบิก้าโดยทั่วไปชอบพื้นที่เพาะปลูกที่มีความสูง จากระดับทะเลปานกลาง 1,800 ฟุต – 6,300 ฟุต (หรือความสูง 548 เมตร – 1,920 เมตรจากระดับทะเลปานกลาง) ที่มีภูมิอากาศที่เย็น มีความลาดเอียงไม่เกิน 45%
สภาพภูมิอากาศ : มีอุณหภูมิอยู่ระหว่าง 15 - 25 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์มากกว่า 60
แหล่งน้ำ : อาศัยน้ำฝนจากธรรมชาติ ปริมาณน้ำฝนไม่ต่ำกว่า 1,500 มิลลิเมตรต่อปี มีการกระจายของฝน 5 - 8 เดือน มีแหล่งน้ำสะอาดและมีปริมาณพอที่จะให้น้ำได้ตลอดช่วงฤดูแล้ง
 

ความสำเร็จของกาแฟอาราบิก้า

โครงการหลวง
  • พื้นที่ปลูก 22 ศูนย์ 8,820 ไร่ เกษตรกร 1,598 ราย ระบบ GAP
  • ผลผลิตกาแฟกะลาปีละ 800 ตัน มูลค่าเงินคืนเกษตรกร ปีละ 90 ล้านบาท
สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน)
  • พื้นที่ปลูก 22 ศูนย์ 5,624 ไร่ เกษตรกร 2,345 คน ได้รับการรับรองมาตรฐาน
    1. GAP: พื้นที่ 2,567.73 ไร่
    2. Organic: พื้นที่ 332.97 ไร่
  • ผลผลิตกาแฟกะลาปีละ 757.6 ตัน รายได้เกษตรกร 38 ล้านบาทต่อปี (ปี 2562)

(อ้างอิง: โครงการคัดเลือกสายพันธุ์และพัฒนาเทคโนโลยีการเพิ่มคุณภาพของผลผลิตกาแฟอราบิก้าโครงการหลวง, สำนักวิจัย: 2562)

 

การวิจัยและพัฒนากาแฟอาราบิก้าเพื่อสนับสนุนโครงการหลวง

1. คัดเลือกสายพันธุ์กาแฟอราบิก้าพิเศษ เจริญเติบโตดี ต้านทาน/ทนทาน ต่อโรคราสนิม
2. ศักยภาพทางการตลาดและการพัฒนาผลิตภัณฑ์กาแฟของโครงการหลวงและสถาบัน
3. วิธีการแปรรูปที่แบบเปียกและกึ่งเปียก ด้วยการหมักแห้ง 16 ชั่วโมง
4. ศึกษาคุณภาพผลผลิตกาแฟแต่ละแหล่งผลิต 20 แห่ง
5. ระบบการปลูกและการจัดการสวนที่เหมาะสมบนที่สูงเชิงอนุรักษ์ทรัพยากรดินและป่าไม้
6. การจัดการธาตุอาหารที่เหมาะสมต่อการให้ผลผลิตและคุณภาพ
7. การเพิ่มผลผลิตและคุณภาพด้วยวิธีการตัดเพื่อสร้างลำต้นใหม่
8. การป้องกันกำจัดโรคและแมลงศัตรูกาแฟ
 

ความสำเร็จจากการนำองค์ความรู้ด้านกาแฟคุณภาพไปสู่ชุมชนบนพื้นที่สูง

กาแฟคุณภาพดีเยี่ยมโครงการหลวง 5 สายพันธุ์
กาแฟคั่วที่มีเอกลักษณ์เฉพาะแหล่งผลิต (Single origin) 3 แห่งผลิตคือ ห้วยโป่ง แม่ลาน้อย และแม่สลอง
พื้นที่โครงการหลวง 22 ศูนย์ฯ:
  • 8,820 ไร่, เกษตรกร 1,598 ราย ระบบ GAP, เกษตรกร 1,519 ราย พื้นที่​ 8,461.3 ไร่ กาแฟกะลาปีละ 500-800 ตัน มูลค่าเงินคืนเกษตรกร ปีละ 90 ล้านบาท
พื้นที่สถาบัน 22 ศูนย์ฯ:
10 ศูนย์ ของสถาบันเชื่อมโยงผลผลิตผ่านโครงการหลวงจำนวน 179 ตัน มูลค่า 20.3 ล้านบาท และตลาดอื่นๆ มูลค่า 21.2 ล้านบาท

(อ้างอิง: โครงการคัดเลือกสายพันธุ์และพัฒนาเทคโนโลยีการเพิ่มคุณภาพของผลผลิตกาแฟอราบิก้าโครงการหลวง, สำนักวิจัย: 2562)

ความสูงมากกว่า 1,000 เมตรจากระดับทะเลปานกลาง
อุณหภูมิเฉลี่ย: 15-25° C
ปริมาณน้ำฝน: ไม่ต่ำกว่า 1,500 มม.ต่อปี
ความลาดชันของพื้นที่: ไม่เกิน 45%
ความชื้นสัมพัทธ์: มากกว่า 60%
รวม 169,978,906 บาท
ผ่านมาตรฐาน GAP 344 แปลง
พื้นที่ 2,567.73 ไร่
ดูเรื่อง "กาแฟ" ทั้งหมด
โครงการศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพของกาแฟอราบิก้าในพื้นที่โครงการหลวงและโครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวง (2561)
การศึกษาการปลูกกาแฟอราบิก้าภายใต้สภาพร่มเงาร่วมกับการจัดทำระบบอนุรักษ์ดินและน้ำในพื้นที่สถานีเกษตรหลวงอินทนนท์ (2561)
โครงการศึกษาวิธีการปลูกและการจัดการสวนที่ดีเพื่อเพิ่มผลผลิตกาแฟที่ปลูกในสภาพร่มเงา (2561)
การศึกษาศึกษาและทดสอบระบบการจัดการทรัพยากรธรรมชาติอย่างมีส่วนร่วมของชุมชนบ้านดอยช้าง (2559)
โครงการวิจัยเชิงบูรณาการเพื่อแก้ปัญหาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ขยายผลโครงการหลวงวาวี (2558)
สิทธิเดช ร้อยกรอง
(นักวิชาการ, สำนักวิจัย, สวพส.)
สุมานี กันธวี
(เจ้าหน้าที่โครงการ, สำนักวิจัย, สวพส.)
อาพัง โซ่เซ
(เกษตรกร, ศูนย์แม่สลอง, สวพส.)
 

Share this: