การจัดทำเกรดผักอินทรีย์

ปัจจุบันกระแสรักสุขภาพมาแรง ผักอินทรีย์จึงเป็นที่ต้องการของผู้บริโภคเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งยังปลอดภัยจากสารพิษตกค้าง ทั้งตัวผู้ผลิต ผู้บริโภค และสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ สินค้าพืชผักอินทรีย์สามารถขายได้ราคาดีกว่าพืชผักที่ปลูกด้วยเคมี จึงทำให้เกษตรกรหันมาปลูกผักอินทรีย์กันมากขึ้น

ในกรณีที่เกษตรกรหรือกลุ่มเกษตรกรได้เจรจาเพื่อซื้อ-ขาย ผักอินทรีย์ กับลูกค้า สิ่งสำคัญอย่างหนึ่งที่มักจะต้องตกลงกัน คือ คุณลักษณะของผลิตผลที่จะซื้อ-ขายกัน หรือเรียกง่ายๆ ว่าเกรด หรือ สเปค (spec) ประเด็นสำคัญที่ต้องพิจารณาเมื่อต้องทำสเปคร่วมกับลูกค้า (ต้องตกลงร่วมกัน) มีดังนี้

  1. 1. มีรูปร่าง ลักษณะ และสีตรงตามพันธุ์ที่ลูกค้าต้องการ
  2. 2. น้ำหนัก ความยาวหรือสูง ความกว้าง ฯลฯ
  3. 3. ช่วง (อายุ) เก็บเกี่ยวที่เหมาะสม หรือที่ลูกค้าต้องการ เช่น ต้องเก็บเกี่ยวเมื่ออายุปลูก 35 วัน
  4. 4. ตำหนิหรือความเสียหายที่ลูกค้ายอมรับได้ มีกี่เปอร์เซ็นต์ เช่น มีตำหนิจากการทำลายของแมลง ประมาณ 10% ของผลิตผลในภาชนะบรรจุทั้งหมด เป็นต้น
  5. 5. การตัดแต่ง เช่น หัวไชเท้า (ผักกาดหัว) ต้องตัดแต่งใบออก เหลือก้านใบประมาณ 5-10 เซ็นติเมตร
  6. 6. ลักษณะการบรรจุและน้ำหนักที่บรรจุ เช่น กะหล่ำปลี บรรจุใส่ลังพลาสติก 10 กิโลกรัม/ลัง เป็นต้น
  7. 7. ข้อกำหนดอื่นๆ ซึ่งอาจขึ้นอยู่กับชนิดพืช
  8. ยกตัวอย่าง: นางใจดี ปลูกกะหล่ำปลี มีผลิตผล 1,000 กิโลกรัม โดยมีสัดส่วนดังนี้

    • - กะหล่ำปลีน้ำหนักหัว 500-700 กรัม มีประมาณ 70% ของผลิตผลทั้งหมด
    • - น้ำหนักหัว 600-800 กรัม มีประมาณ 10%
    • - หัวที่มีน้ำหนัก 900-1,000 กรัม มีประมาณ 10%
    • - น้ำหนักหัว 200-300 กรัม มีประมาณ 10%

    จากข้อมูลข้างต้นจะสังเกตได้ว่า ควรจะเลือกกะหล่ำปลีที่มีน้ำหนักหัว 500-700 กรัม เป็นหลัก ในการเสนอลูกค้า โดยอาจจัดเกรดดังนี้

    • - เกรด 1 น้ำหนักหัว 500-700 กรัม
    • - เกรด 2 น้ำหนักหัว 600-800 กรัม
    • - เกรด 3 หรือ เกรด U (Under grade) หรือ ตกเกรด หัวที่มีน้ำหนัก 900-1,000 กรัม หรือ น้ำหนักหัว 200-300 กรัม (เนื่องจากหัวมีขนาดใหญ่หรือเล็กเกินไป) 

    ***สิ่งที่ต้องพึงระวัง คือ พืชบางชนิด น้ำหนักจะไม่เท่ากันในแต่ละฤดู เช่น สลัดคอส ในช่วงฤดูหนาว น้ำหนักประมาณ 150-300 กรัม/ต้น แต่ในฤดูฝน น้ำหนักอาจเหลือเพียง 20-50 กรัม/ต้น ดังนั้นอาจต้องมีการตกลงกันเป็นกรณีไปด้วย

     

 
เขียน / เรียบเรียงเรื่องโดย:
ดร.เพชรดา อยู่สุข และนางสาวจิราวรรณ ปันใจ
source!='') { ?>
แหล่งที่มา / เอกสารอ้างอิง:

คู่มือการจัดชั้นคุณภาพผักอินทรีย์โครงการหลวง ปรับปรุงครั้งที่ 2


ข้อมูลนี้เป็นที่น่าพึงพอใจหรือเป็นประโยชน์สำหรับท่านหรือไม่
 

บทความอื่นที่เกี่ยวข้อง