สารพัน ไม้ รักษ์ สิ่งแวดล้อม

ในปัจจุบัน พื้นที่สูง กำลังเผชิญกับปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมที่สำคัญ ไม่ว่าจะเป็น ดินเสื่อมโทรม สารพิษปนเปื้อนในดินและแหล่งน้ำธรรมชาติ หมอกควัน พื้นที่ป่าและความหลากหลายทางชีวภาพของพรรณพืชลดลง รวมถึงภัยธรรมชาติ เช่น ภัยแล้ง ดินถล่ม น้ำป่าไหลหลาก สาเหตุส่วนใหญ่มาจากกิจกรรมมนุษย์ที่ใช้ทรัพยากรธรรมชาติเกินพอดี ซึ่งปัญหาเหล่านี้ได้ส่งผลกระทบโดยตรงต่อการดำรงอยู่และการมีคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชน

เพราะสิ่งแวดล้อมเป็นเรื่องที่เราจำเป็นต้องใส่ใจ

แม้เป็นวิกฤติ...แต่ก็ไม่สายไปที่จะแก้ หากทุกคนร่วมมือกัน

วิธีที่ง่ายที่สุดในการป้องกัน บรรเทา แก้ไขปัญหาและฟื้นฟูสิ่งแวดล้อม คือ การปลูก “ต้นไม้”

ต้นไม้ แม้เพียงหนึ่งต้น ให้ประโยชน์มากมายหลากหลายประการ ไม่ว่าจะเป็น
1. ดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ได้เฉลี่ย 9 - 15 กิโลกรัม/ปี
2. ดักจับฝุ่นและมลพิษในอากาศ ได้ 1.4 กิโลกรัม/ปี
3. ดูดซับความร้อนจากบรรยากาศและลดอุณหภูมิรอบบ้านลงได้ 2-4 °C
4. สามารถปล่อยก๊าซออกซิเจน (O2) ได้ถึง 200,000 – 250,000 ลิตร/ปี ซึ่งรองรับความต้องการก๊าซออกซิเจน ของมนุษย์ได้ถึง 2 คน/ปี
5. ดูดซับก๊าซที่เป็นพิษต่อร่ายกายมนุษย์ และสิ่งแวดล้อม เช่น คาร์บอนมอนอกไซด์ (CO) ก๊าซชัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2) และก๊าซไนโตรเจนไดออกไซด์ (NO2) เป็นต้น
6. เป็นแหล่งที่อยู่อาศัย อาหาร และยารักษาโรค และเป็นส่วนหนึ่งในระบบนิเวศ
7. รากต้นไม้ช่วยยึดดิน ดูดซับน้ำและแร่ธาตุ ช่วยป้องกันการพังทลายจากดินถล่ม รวมถึงการ
กักเก็บน้ำไว้บริเวณผิวดิน
" ตามมาดูกันว่า..... มีพรรณไม้หรือพรรณพืช ชนิดไหนบ้าง ที่มีประสิทธิภาพในการช่วยฟื้นฟูและเสริมสร้างสภาวะแวดล้อมทางธรรมชาติ
ดักจับฝุ่น"


ลักษณะของพรรณไม้ที่ช่วยดักจับฝุ่น และช่วยกรองอากาศ ควรเป็น
• ไม้ยืนต้นหรือไม้พุ่มที่ใบมีลักษณะเรียวเล็ก มีผิวหยาบหรือมีขนและเหนียว จะมีประสิทธิภาพมากกว่าผิวเรียบมัน
• ต้นไม้ที่ไม่ผลัดใบจะมีประสิทธิภาพดีกว่าไม้ผลัดใบ
• พืชที่มีผิวใบโดยรวมมากกว่าจะสามารถดักจับฝุ่นละอองได้มากกว่าพืชที่มีผิวใบน้อย ดังนั้น ต้นไม้ใหญ่และไม้พุ่มที่มีใบขนาดเล็กจำนวนมากจึงมีประสิทธิภาพในการดักจับฝุ่นละอองสูงกว่าต้นไม้ที่มีใบขนาดใหญ่
ได้แก่ ไผ่รวก พฤกษ์ ขี้เหล็กเลือด ปอกระสา ตะลิงปลิง โมกหลวง โมกมัน
สกุลชงโค ขี้เหล็กบ้าน ตะแบก อินทนิล เสลา จามจุรี ประดู่ กัลปพฤกษ์ สัก แคแสด ชมพูพันธุ์ทิพย์พังแหร

  • ดูดซับสารพิษในดิน
    • แฝก ช่วยดูดซับแคดเมียม โดยส่วนที่สะสม ได้แก่ รากและลำต้น
    • กล้วยน้ำว้า ช่วยดูดซับสารหนู โดยส่วนที่สะสม ได้แก่ ราก ลำต้นและใบ

    • บําบัดนํ้าเสีย

    การบำบัดน้ำเสียด้วยระบบพืชกรองน้ำเสีย อาศัยหลักการใช้ดินเป็นตัวกรองของเสีย และจุลินทรีย์ในดินทำหน้าที่เป็นตัวย่อยของเสีย โดยของเสียที่ย่อยแล้วพืชจะเป็นตัวดูดเอาไปใช้ในการเติบโต ทำให้ของเสียเปลี่ยนเป็นมวลชีวภาพ น้ำเสียที่ผ่านระบบจะมีคุณภาพดีและสามารถระบายสู่แหล่งน้ำธรรมชาติได้ได้แก่ เหงือกปลาหมอ เตยหอม ว่านน้ำ

    • ยึดดิน

    - การเลือกพืชยึดดินเพื่อป้องกันการกัดเซาะและดินถล่ม ควรพิจารณาทั้งความสามารถในการยึดดิน ได้แก่ กำลังดึงของรากพืชและความหนาแน่นของราก ร่วมกับแนวพระราชดำริการปลูกป่าสามอย่างประโยชน์สี่อย่าง

- พรรณไม้ที่มีแรงดึงรากสูงที่สุด เช่น อโวคาโด ตะไคร้ต้น จันทร์ทองเทศ กาแฟ แฝก

- พรรณไม้ที่มีแรงดึงรากระดับกลาง เช่น การบูร ตองแตบ ส้มผด กำลังเสือโคร่ง แคฝรั่ง มะขาม และกระท่อมหมู

- พรรณไม้ที่มีแรงดึงรากระดับต่ำ แต่มีความหนาแน่นของรากมาก เช่น ถั่วมะแฮะ ราชาวดีป่า

      • กันลม

      ลักษณะของพรรณไม้ที่ปลูกเป็นแนวกันลม ควรเป็นต้นไม้ที่ไม่ผลัดใบ มีเรือนรากลึก มีเรือนยอดหนาแน่น มีความยืดหยุนของลำต้น มีความสูงเพียงพอ กิ่งไม่เปราะและไม่ทิ้งกิ่งง่าย สามารถนำไปใช้ประโยชน์อย่างอื่นได้นอกเหนือจากใช้เป็นแนวกันลม ได้แก่ ไผ่ กระถินณรงค์ กระถินเทพา สะเดาไทย สะเดาอินเดีย ขี้เหล็กบ้าน มะขาม มะขามเทศ ข่อย ฝาง

 โดยทิศทางที่จะปลูกเป็นแนวกันลมนี้ควรตรวจดูให้แน่ใจว่าอยู่ในแนวขวางกับทิศทางที่ลมพัดผ่านเป็นประจำ

      • windbreak (วินด์เบรค) แนวปะทะลม
      • shelterbelt (เชลเตอร์เบลท์) แนวคุ้มกันลม

       ประโยชน์ของไม้บังลม

      • - ช่วยให้พืชประธาน เช่น ไม้ผลต่างๆ มีการเจริญเติบโต ให้ผลผลิต และคุณภาพของผลผลิตดีขึ้น เนื่องจากไม่ถูกกระแสลมพัด ทำให้ทรงพุ่มโยก รากคลอน และความชื้นในดินคงอยู่ ไม่สูญเสียไป เพราะถูกลมเป่า อุณหภูมิภายในสวนสม่ำเสมอ
      • - แมลงช่วยผสมเกสร เช่น ผึ้ง มิ้ม จะทำงานได้ดีขึ้น ทำให้ไม้ผล เช่น ลิ้นจี่ ลำไย มะม่วง อโวคาโด แมกคาเดเมีย ติดผลดีหากภาวะลมสงบนิ่ง
      • - ความเสียหายจากการกัดกร่อนของดินผิวหน้าจะลดลงมากหากปลูกไม้บังร่มหลายแถวในสวน
      • - ทำให้การฉีดพ่นสารป้องกันกำจัดศัตรูพืช ทำได้โดยไม่สูญเสียละอองยา ซึ่งอาจโดน ลมพัด เช่นเดียวกับการฉีดพ่นปุ๋ยทางใบ

      ทนไฟ

    • ลักษณะของพรรณไม้-พรรณพืช ที่ต้านทานหรือทนทานต่อไฟ

      • มีเปลือกไม้ที่หนาเป็นฉนวนป้องกันเนื้อเยื่อเจริญจากความร้อนและการถูกทำลายได้ ได้แก่
        เต็ง รัง เหียง พลวง รกฟ้า ตะแบกเลือด แดง ประดู่ป่า มะกอก งิ้ว
        • มีกาบใบหรือฐานใบที่หนา แข็งและมีความชื้นสูง ซึ่งจะช่วยห่อหุ้มปกป้องตาพืชที่อยู่ตรงปลายลำต้น ไว้ให้พ้นอันตรายจากไฟป่า ได้แก่ กล้วยป่า ต๋าว ค้อ หวาย ลิงลาว เตยหอม ปรง
          • แม้ลำต้นส่วนบนของต้นไม้จะถูกไฟลวก แต่รากก็มีชีวิตอยู่ได้ใต้ดิน เป็นเหง้ามีเนื้อไม้แข็ง ซึ่งมีตาอยู่มากมาย จะสร้างหน่อกลายเป็นลำต้นใหม่ได้อีก ได้แก่ สัก ปีบ รัง เหียง เติม เพกามะเดื่อใบใหญ่ มณฑาแดง มะยาง
          • รากและลำต้นใต้ดิน เนื่องจากดินเป็นฉนวนที่ดี ตาใต้ดินจึงได้รับการปกป้องอย่างดี พืชสามารถอยู่รอดได้โดยการแตกหน่อจากลำต้นใต้ดิน หรือหัวที่มีลักษณะเป็นหัวแบบมันฝรั่งหรือหัวแบบเผือก เช่น พืชวงศ์ขิง พืชวงศ์บุกบอน
            • ทนน้ำท่วม

            พรรณไม้ที่มีระบบรากทนต่อการถูกแช่น้ำ ยึดเกาะตลิ่งได้ดีและช่วยชะลอความเร็วของน้ำ ได้แก่ สนุ่น ตะเคียนทอง ยางนา กระทุ่ม ก้านเหลือง ตาเสือ กุ่มน้ำ มะตาด จิกนา เต่าร้าง มะเดื่ออุทุมพรไคร้น้ำ ไคร้ย้อย เติม สมพง ลำพูป่า ยมหอม พระเจ้าห้าพระองค์ มะเนียงน้ำ หว้า ไผ่

 

 
เขียน / เรียบเรียงเรื่องโดย:
นางสาวกมลทิพย์ เรารัตน์
source!='') { ?>
แหล่งที่มา / เอกสารอ้างอิง:
  • การปลูกต้นไม้เป็นแนวกันลมในประเทศไทย. ศาสตราจารย์ ดร.อำนวย คอวนิช
  • การบำบัดน้ำเสียด้วยระบบพืชกรองน้ำเสีย. มูลนิธิชัยพัฒนา
  • โครงการศึกษาและประยุกต์ใช้เทคนิคทางชีววิศวกรรมปฐพีเพื่อป้องกันดินถล่มบนพื้นที่สูงโดยกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน. อภินิติ โชติสังกาศ และคณะ (2563)
  • คู่มือ เลือกชนิดพรรณไม้เพื่อปลูกป่าป้องกันอุทกภัย กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
  • บทความ พืชกันไฟ โดย นายอานนท์ เทิดไพรพนาวัลย์ และ นางสาวศิริรัตนาพร หล้าบัววงศ์
  • บทความ พืชยึดดินบนพื้นที่สูง....รากนั้น สำคัญไฉน?? โดย นางสาวจารุณี ภิลุมวงค์
  • สมุนไพรดูดซับสารพิษในดิน. ดร. เทิดศักดิ์ โทณลักษณ์
  • องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน)
  • https://mgronline.com/qol/detail/9640000031420
  • https://www.bangkokbiznews.com/social/824574

ข้อมูลนี้เป็นที่น่าพึงพอใจหรือเป็นประโยชน์สำหรับท่านหรือไม่
 

บทความอื่นที่เกี่ยวข้อง