มารู้จัก....โรคและแมลงศัตรูกาแฟอะราบิกา

มารู้จัก....โรคและแมลงศัตรูกาแฟอะราบิกา

 

            ปัจจุบันพื้นที่ปลูกกาแฟทางภาคเหนือของประเทศไทยได้เพิ่มขึ้น โดยปลูกมากที่สุดคือจังหวัดเชียงรายและเชียงใหม่ แต่ปัญหาสำคัญที่พบคือ โรคและแมลงศัตรูกาแฟ จากสภาพอากาศที่อุณหภูมิเฉลี่ยมีแนวโน้มสูงขึ้น หรือภาวะฝนทิ้งช่วง ทำให้เกิดปัญหาการระบาดของโรคราสนิม โรคผลดำ และแมลงกลุ่มด้วงปากกัด ซึ่งสร้างความเสียหายในแปลงปลูกกาแฟของเกษตรกรเป็นอย่างมาก

 

            ลักษณะอาการที่พบ  พบทั้งในระยะที่เป็นต้นกล้าและต้นโตในแปลง ลักษณะอาการครั้งแรกจะเห็นเป็นจุดสีเหลืองบริเวณด้านในของใบและเกิดกับใบแก่ก่อน จุดสีเหลืองบนใบจะขยายโตขึ้นเรื่อย ๆ สีของแผลจะเปลี่ยนจากสีเหลืองเป็นสีส้มหรือสีส้ม ใบร่วง และกิ่งแห้งในเวลาต่อมา ต้นที่เป็นโรครุนแรงใบจะร่วงเกือบหมดต้น

 

            ลักษณะอาการที่พบ  เกิดได้ทั้งในส่วนของใบ กิ่ง และผล พบจุดลึกสีน้ำตาลเข้ม จากนั้นจะแห้งและเปลี่ยนเป็นสีดำ หากเกิดที่ใบจะทำให้ใบเหลืองและมีแผลแห้ง

 

            ลักษณะอาการที่พบ แมลงพวกปากดูดถ่ายน้ำหวานมาปกคลุมส่วนต่าง ๆ ของต้นกาแฟ เชื้อราที่อยู่ในอากาศจะปลิวมาขึ้นบนส่วนที่มีน้ำหวานสีดำของเชื้อราขึ้นปกคลุมใบ กิ่ง ช่อดอก ทำให้เห็นเป็นคราบสีดำคล้ายเขม่า บนใบที่ถูกเคลือบด้วยแผ่นคราบดำของเชื้อ อาการที่ปรากฏที่ช่อดอกถ้าเป็นรุนแรงทำให้ดอกร่วงไม่สามารถผสมเกสรได้

 

             ลักษณะการเข้าทำลาย ผลกาแฟที่ถูกเจาะจะเป็นช่องทางให้เชื้อราและแบคทีเรียเข้าทำลาย ทำให้ผลร่วง ผลผลิตลดลง ผลกาแฟที่มอดเจาะจะไม่มีคุณภาพและไม่สามารถนำไปเป็นเมล็ดพันธุ์ได้

 

             ลักษณะการเข้าทำลาย เข้าทำลายต้นกาแฟที่ให้ผลผลิตแล้ว สังเกตจากต้นกาแฟแสดงอาการใบเหลืองและเหี่ยวเห็นได้ชัด และพบเศษขุยไม้บริเวณโคนต้น ถ้าผ่าต้นดูจะพบว่าท่อน้ำของต้นจะถูกหนอนกัดกินทำลาย ทำให้ต้นกาแฟเหี่ยว เฉาตาย

 

             ลักษณะการเข้าทำลาย ทั้งตัวอ่อนและตัวเต็มวัยเข้าทำลายต้นกาแฟโดยดูดกินน้ำเลี้ยงบริเวณยอดอ่อน ใบอ่อน ทำให้ยอดและใบหงิกงอผิดปกติ ใบร่วง ต้นกาแฟชะงักการเจริญเติบโต หากเกิดการระบาดในขณะที่กาแฟกำลังติดผล จะทำให้ผลอ่อนของกาแฟมีขนาดเล็กลง เมล็ดลีบและผลร่วง ผลผลิตเล็กลง

 

วิธีการป้องกันกำจัด

  1.             1. ทำความสะอาดแปลงอยู่เสมอ ตัดแต่งทรงต้นและใบให้โปร่ง กำจัดวัชพืช เพื่อลดความชื้นภายในแปลงกาแฟ
  2.             2. ใช้สารชีวภัณฑ์ฉีดพ่นเพื่อป้องกันในช่วงที่ยังไม่มีการระบาด เช่น ชีวภัณฑ์ผงพีพี-เมทา หรือพีพี-เบ็บ กำจัดแมลงศัตรูพืช เป็นต้น
  3.             3. ใช้สารเคมีฉีดพ่นเมื่อมีการระบาดมาก เช่น คาร์โบซัลแฟน หรือสารไตรอะโซฟอส 40% เป็นต้น ฉีดพ่นในช่วงที่กาแฟมีผลสีเขียว

 

 
เขียน / เรียบเรียงเรื่องโดย:
ดร.สิทธิเดช ร้อยกรอง , สุมานี กันธวี
source!='') { ?>
แหล่งที่มา / เอกสารอ้างอิง:

ข้อมูลนี้เป็นที่น่าพึงพอใจหรือเป็นประโยชน์สำหรับท่านหรือไม่
 

บทความอื่นที่เกี่ยวข้อง