ปลูกองุ่นปลอดภัย ต้องทำอย่างไร...

ปลูกองุ่นปลอดภัย ต้องทำอย่างไร...

 

 

            การปลูกองุ่นในประเทศไทยสามารถให้ผลผลิตที่มีคุณภาพได้ แต่ไทยเป็นประเทศที่อยู่ในเขตร้อนชื้น จึงมักพบโรคและแมลงศัตรูที่สำคัญที่สร้างความเสียหายให้กับองุ่น เช่น โรคราน้ำค้าง โรคราแป้ง โรคแอนแทรคโนส เพลี้ยไฟ เพลี้ยแป้ง และหนอนกระทู้ เป็นต้น ทำให้เกษตรกรใช้สารเคมีเพื่อป้องกันกำจัดโรคและแมลงศัตรูองุ่นในปริมาณที่มากเกินความจำเป็น ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของเกษตร ผู้บริโภค และสิ่งแวดล้อม ดังนั้นการจัดการศัตรูพืชแบบผสมผสาน (Integrated Pest Management; IPM) จึงเป็นทางเลือกหนึ่งในการป้องกันกำจัดโรคและแมลงศัตรูพืชที่เป็นมิตรต่อคนและสิ่งแวดล้อม เป็นการเลือกใช้วิธีการจัดการศัตรูพืชตั้งแต่ 2 วิธีการขึ้นไปมาใช้ร่วมกันอย่างเหมาะสม เป็นการลดการใช้สารเคมีเกษตรในการป้องกันกำจัดศัตรูพืช หรือใช้เท่าที่จำเป็นเท่านั้นเพื่อลดระดับปริมาณศัตรูพืชให้อยู่ในระดับที่ไม่ก่อให้เกิดความเสียหายทางเศรษฐกิจ และเกิดความสมดุลของระบบนิเวศ โรคและแมลงศัตรูองุ่นที่สำคัญ ได้แก่

โรคราน้ำค้าง (Downy mildew)

เชื้อสาเหตุ :               Plasmopara viticola

ลักษณะอาการ :          เป็นขุยสีขาวที่ใต้ใบองุ่น ด้านบนใบจะเห็นเป็นสีเหลืองเป็นจ้ำๆ ถ้าเป็นรุนแรงใบจะไหม้ ช่อดอกและผลอ่อนเหี่ยวแห้ง

การระบาด :               ระบาดในช่วงฤดูฝน หรือในช่วงที่มีความชื้นสูง

การป้องกันกำจัด :       

  1.            1. หมั่นตรวจสอบแปลงและป้องกันกำจัดตั้งแต่เริ่มพบโรค
  2.            2. กำจัดวัชพืชในโรงเรือนและรอบโรงเรือน
  3.            3. งดให้น้ำในช่วงเย็น
  4.            4. การใช้สารปลอดภัย ได้แก่ ชีวภัณฑ์ของเชื้อราไตรโคเดอร์มา เช่น พีพี-ไตรโค อัตรา 20 กรัม/น้ำ 20 ลิตร ทุก 5 วัน (ควรฉีดพ่นในช่วงเวลาเย็นและหลีกเลี่ยงช่วงที่มีแสงแดดจัด)
  5.            5. การใช้สารเคมี ควรสลับใช้สารเคมีที่มีสารออกฤทธิ์คนละชนิดกัน และอัตราที่ใช้ตามฉลาก ได้แก่

           - โพรพิเนบ เช่น แอนทราโคล เอราแทร็ค
           - แมนโคเซบ เช่น แมนโคเซบ ไดเทนเอ็ม-45 แมนเซทดี เพนโคเซบ
           - เมทาแลคซิล เช่น เมทาแลกซิล ไอยราแลกซิล
           - เมทาแลคซิล+แมนโคเซบ เช่น ริดโดมิล โกล์ด
           - ไดเมทโธมอฟ เช่น ฟอรัม
           - อะซอกซีสโตรบิน เช่น อะมิสตา ลูมินัส

 

 

โรคราแป้ง (Powdery mildew)

เชื้อสาเหตุ :               Oidium tuckeri

ลักษณะอาการ :          เป็นขุยแป้งขี้เถาสีขาว เกิดบนใบ กิ่ง และผล

การระบาด :               ระบาดในช่วงปลายฤดูฝน-ฤดูหนาว

การป้องกันกำจัด :       

  1.             1. หมั่นตรวจสอบแปลงและป้องกันกำจัดตั้งแต่เริ่มพบโรค
  2.             2. กำจัดวัชพืชในโรงเรือนและรอบโรงเรือน
  3.             3. การใช้สารปลอดภัย

            - ซิลิกอน อัตรา 140 มิลลิลิตร/น้ำ 20 ลิตร ทุก 7 วัน ในระยะหลังดอกบาน-ผลเริ่มเปลี่ยนสีเพื่อเพิ่มความแข็งแรงให้กับเซลล์พืช
            - ปิโตรเลียมออยล์ อัตรา 40 มิลลิลิตร/น้ำ 20 ลิตร ร่วมกับ ผงฟู อัตรา 150 กรัม/น้ำ 20 ลิตร (ผสมกันได้) ทุก 7 วัน ในระยะก่อนเก็บเกี่ยว

  1.             4. การใช้สารเคมี ควรสลับใช้สารเคมีที่มีสารออกฤทธิ์คนละชนิดกัน และอัตราที่ใช้ตามฉลาก
                - กำมะถัน (ห้ามผสมกับปิโตรเลียมสเปรย์ออยล์และพ่นใน) เช่น คูมูลัสดีเอฟ ไมโครไธออลกำมะถันทอง
                - ครีซอกซิม-เมทิล เช่น โซซิม 50 สโตรบี้ แคนดิต
                - ไมโครบิวทานิล เช่น ซีสแทน-อี
                - ไตรดีมอร์ฟ เช่น คาลิกซิน

 

 

โรคแอนแทรคโนส (Anthracnose)

เชื้อสาเหตุ :               อาการแห้งแข็ง คือ โรคอีบุบ เกิดจากเชื้อ Sphaceloma ampelinum

                                อาการฉ่ำน้ำ คือ โรคเตาเผา เกิดจากเชื้อ Colletotrichum gloeosporioides

ลักษณะอาการ :          ใบจะเป็นรูจุดๆ สีน้ำตาล ใบไหม้เป็นสีน้ำตาลและดำ อาการรุนแรงใบตรงรูจุดจะขาด กิ่งจะเป็นรอยแผลขรุขระขอบแผลจะเป็นสีน้ำตาลและดำ ถ้าทำลายที่ผลจะเป็นรอยบุ๋มลึก ตรงกลางรอยบุ๋มจะมีสีเหลืองน้ำตาล

การระบาด :               ระบาดในช่วงฝนตกชุก หรือในสภาพอากาศร้อนชื้น

การป้องกันกำจัด :       

  1.             1. หมั่นตรวจสอบแปลงและป้องกันกำจัดตั้งแต่เริ่มพบโรค
  2.             2. กำจัดวัชพืชในโรงเรือนและรอบโรงเรือน
  3.             3. งดให้น้ำในช่วงเย็น
  4.             4. การใช้สารปลอดภัย

            - ชีวภัณฑ์ของเชื้อราไตรโคเดอร์มา เช่น พีพี-ไตรโค อัตรา 20 กรัม/น้ำ 20 ลิตร ทุก 5 วัน (ควรฉีดพ่นในช่วงเวลาเย็นและหลีกเลี่ยงช่วงที่มีแสงแดดจัด)
            - ชีวภัณฑ์ของเชื้อแบคทีเรียบาซิลลัส ซับทีลิส/ อะไมโลลิควิเฟเซียนส์ เช่น พีพี-บีเค 33 อัตรา 100 กรัม/ 20 ลิตร ทุก 5 วัน

  1.             5. การใช้สารเคมี ควรสลับใช้สารเคมีที่มีสารออกฤทธิ์คนละชนิดกัน และอัตราที่ใช้ตามฉลาก
                - โพรพิเนบ เช่น แอนทราโคล เอราแทร็ค
                - แมนโคเซบ เช่น แมนโคเซบ ไดเทนเอ็ม-45 แมนเซทดี เพนโคเซบ
                - ไดฟีโนโคนาโซล เช่น สกอร์
                - ไมโครบิวทานิล เช่น ซีสแทน-อี
                - อะซอกซีสโตรบิน เช่น อะมิสตา ลูมินัส

 

 

 

โรคเน่าดำ (Black rot)

เชื้อสาเหตุ :               Phyllosticta ampelicida

ลักษณะอาการ :          ใบเป็นรูจุดไหม้สีน้ำตาลแดง ตรงกลางแผลมีสีน้ำตาลอ่อน ขอบแผลมีสีน้ำตาลเข้ม กิ่งจะมีลักษณะปื้นดำเป็นแถบ เนื้อเยื่อบริเวณแผลยุบตัวลงแต่ไม่ลึก มีสีเทา บริเวณแผล มีเม็ดเล็กๆ สีดำ ผลอ่อนเป็นจุดแผลฉ่ำน้ำสีน้ำตาลเนื้อเยื่อบริเวณแผลยุบตัวลง

การระบาด :               ระบาดในสภาพอากาศเย็นและชื้น

การป้องกันกำจัด :       

  1.              1. หมั่นตรวจสอบแปลงและป้องกันกำจัดตั้งแต่เริ่มพบโรค
  2.              2. กำจัดวัชพืชในโรงเรือนและรอบโรงเรือน
  3.              3. งดให้น้ำในช่วงเย็น
  4.              4. การใช้สารปลอดภัย

             - ชีวภัณฑ์ของเชื้อราไตรโคเดอร์มา เช่น พีพี-ไตรโค อัตรา 20 กรัม/น้ำ 20 ลิตร ทุก 5 วัน (ควรฉีดพ่นในช่วงเวลาเย็นและหลีกเลี่ยงช่วงที่มีแสงแดดจัด)
             - ชีวภัณฑ์ของเชื้อแบคทีเรียบาซิลลัส ซับทีลิส/ อะไมโลลิควิเฟเซียนส์ เช่น พีพี-บีเค 33 อัตรา 100 กรัม/ 20 ลิตร ทุก 5 วัน

  1.              5. การใช้สารเคมี ควรสลับใช้สารเคมีที่มีสารออกฤทธิ์คนละชนิดกัน และอัตราที่ใช้ตามฉลาก

             - โพรพิเนบ เช่น แอนทราโคล เอราแทร็ค
             - แมนโคเซบ เช่น แมนโคเซบ ไดเทนเอ็ม-45 แมนเซทดี เพนโคเซบ
             - ไดฟีโนโคนาโซล เช่น สกอร์
             - ไมโครบิวทานิล เช่น ซีสแทน-อี
             - อะซอกซีสโตรบิน เช่น อะมิสตา ลูมินัส

 

เพลี้ยไฟ (Thrips)

การเข้าทำลาย :          ดูดกินน้ำเลี้ยงที่ยอดอ่อน ใบอ่อน ช่อผลอ่อน

ลักษณะอาการ :          เกิดแผลสีน้ำตาลบริเวณยอดอ่อนและใบ คล้ายกับอาการไหม้ ระยะผลอ่อนมีลักษณะเป็นสะเก็ดแผลตามผิวผล หากเพลี้ยไฟเข้าทำลายตั้งแต่ระยะแตกตา-แตกยอดอ่อน ส่งผลให้ต้นองุ่นชะงักการเจริญเติบโต ยอดแคระแกร็น

การระบาด :               ระบาดสภาพอากาศร้อนและแห้งแล้ง

การป้องกันกำจัด :       

  1.              1. หมั่นตรวจสอบแปลงและป้องกันกำจัดตั้งแต่เริ่มพบเพลี้ยไฟ โดยเฉพาะช่วงแตกใบอ่อนและติดผลอ่อน
  2.              2. กำจัดวัชพืชในโรงเรือนและรอบโรงเรือน
  3.              3. การใช้สารปลอดภัย

             - ใช้จุลินทรีย์ บิวเวอร์เรีย, พาซิโลมัยซิส เชื้อรา 5 พิฆาต ฉีดพ่นช่วงเย็นทุก ๆ 3 - 5 วันหลังพบการระบาด (ควรฉีดพ่นในช่วงเวลาเย็นและหลีกเลี่ยงช่วงที่มีแสงแดดจัด)
             - ใช้น้ำสบู่อ่อน อัตรา 300 มิลลิลิตร/น้ำ 20 ลิตร ทุก 3 วัน
             - ปิโตรเลียมออยล์ อัตรา 40 มิลลิลิตร/น้ำ 20 ลิตร ทุก 7 วัน

             4.การใช้สารเคมี ควรสลับใช้สารเคมีที่มีสารออกฤทธิ์คนละชนิดกัน และอัตราที่ใช้ตามฉลาก
             - อิมิดาคลอพริด เช่น อิมิดาคลอพริด โปรวาโด
             - ฟิโปรนิล เช่น แอสเซนด์ มอร์เก็น เลอแซ็ค
             - อะเซทามิพริด เช่น โมแลน (ไม่ควรผสมกับอิมอดาคลอพริดเพราะเป็นยากลุ่มเดียวกัน)
             - อะบาเมกติน เช่น อะบาเมกติน
             - สไปนีโทแรม เช่น เอ็กซอล

 

 

เพลี้ยแป้ง (Mealy bugs)

การเข้าทำลาย :          ดูดกินน้ำเลี้ยงที่ยอดอ่อน ใบ กิ่ง และช่อผล

ลักษณะอาการ :          เพลี้ยแป้งอาศัยอยู่ตามใต้เปลือกต้นองุ่น อยู่รวมกันเป็นกลุ่ม โดยเพลี้ยแป้งจะดูดน้ำเลี้ยงจากทุกส่วนของต้นองุ่น ส่วนที่ถูกทำลายจะแคระแกร็น องุ่นหยุดการเจริญเติบโต อีกทั้งยังผลิตน้ำหวานจำนวนมากใช้เคลือบต้นหรือเถาองุ่น รวมทั้งช่อผลองุ่นซึ่งเป็นแหล่งอาหารของราดำ ในสภาวะที่ไม่เหมาะสม ไม่มีพืชอาหารหลัก เพลี้ยแป้งจะมีวงจรชีวิตอยู่ในดิน ตามรากพืช โดยมีมดเป็นแมลงพาหะ โดยมดเป็นตัวพาเพลี้ยแป้งไปต้นอื่น จงแพร่กระจายได้รวดเร็ว

การระบาด :               ระบาดสภาพอากาศร้อนชื้น

การป้องกันกำจัด :       

  1.              1. หมั่นตรวจสอบแปลงและป้องกันกำจัดตั้งแต่เริ่มพบเพลี้ยแป้ง
  2.              2. กำจัดวัชพืชในโรงเรือนและรอบโรงเรือน
  3.              3. กำจัดมด โดยใช้ผ้าชุบน้ำมันเครื่องพันรอบโคนต้น
  4.              4. หลังตัดแต่งกิ่ง ลอกเปลือกองุ่นแล้วนำเปลือกไปเผาทำลายนอกแปลงทันที ใช้เครื่องพ่นน้ำที่กำลังอัดฉีดสูงพ่นให้เพลี้ยแป้งหลุดออกจากต้น และทาสารเคมีป้องกันกำจัดเพลี้ยแป้งให้ทั่วทั้งต้นรวมทั้งราดลงพื้นดินรอบโคนต้น
  5.              5. การใช้สารปลอดภัย

             - ใช้น้ำสบู่อ่อน อัตรา 300 มิลลิลิตร/น้ำ 20 ลิตร ทุก 3 วัน
             - ปิโตรเลียมออยล์ อัตรา 40 มิลลิลิตร/น้ำ 20 ลิตร ทุก 7 วัน

  1.              6. การใช้สารเคมี ควรสลับใช้สารเคมีที่มีสารออกฤทธิ์คนละชนิดกัน และอัตราที่ใช้ตามฉลาก

             - อิมิดาคลอพริด เช่น อิมิดาคลอพริด โปรวาโด
             - ฟิโปรนิล เช่น แอสเซนด์ มอร์เก็น เลอแซ็ค
             - มาลาไทออน เช่น มาลาไทออน

 

 

 

หนอนกระทู้ผัก (Mealy bugs)

การเข้าทำลาย :          กัดกินใบองุ่น ก้าน ยอด และผล

ลักษณะอาการ :          จะพบกลุ่มไข่และตัวหนอนอายุ3-4 วัน อยู่บริเวณใต้ใบ ตัวหนอนมีการเจริญเติบโตค่อนข้างเร็ว กัดกินใบองุ่นทำให้ใบพรุน ไม่มีพื้นที่ให้สังเคราะห์แสง และชะงักการเจริญเติบโตในที่สุดจึงต้องมีการป้องกันกำจัดตั้งแต่ระยะแรก

การระบาด :               พฤษภาคม-กันยายน

การป้องกันกำจัด :       

  1.              1. หมั่นตรวจสอบแปลงและป้องกันกำจัดตั้งแต่เริ่มกลุ่มไข่และหนอนอายุ 3-4 วัน
  2.              2. ติดไฟแบล๊คไลท์ล่อหนอนผีเสื้อกลางคืน
  3.              3. การใช้สารปลอดภัย

             - ใช้ไวรัส เอ็นพีวี ฉีดพ่นช่วงเย็นทุกๆ 5 วัน หลังพบการระบาด
             - ใช้น้ำสบู่อ่อน อัตรา 300 มิลลิลิตร/น้ำ 20 ลิตร ทุก 3 วัน
             - ปิโตรเลียมออยล์ อัตรา 40 มิลลิลิตร/น้ำ 20 ลิตร ทุก 7 วัน

  1.              4. การใช้สารเคมี ควรสลับใช้สารเคมีที่มีสารออกฤทธิ์คนละชนิดกัน และอัตราที่ใช้ตามฉลาก

             - คลอร์ฟูอาซูรอน เช่น อาทาบรอน
             - ฟิโปรนิล เช่น แอสเซนด์ มอร์เก็น เลอแซ็ค
             - อะบาเมกติน เช่น อะบาเมกติน
             - สไปนีโทแรม เช่น เอ็กซอล

 

 
เขียน / เรียบเรียงเรื่องโดย:
จิระนิล แจ่มเกิด
source!='') { ?>
แหล่งที่มา / เอกสารอ้างอิง:

ข้อมูลนี้เป็นที่น่าพึงพอใจหรือเป็นประโยชน์สำหรับท่านหรือไม่
 

บทความอื่นที่เกี่ยวข้อง