การบริโภคผักอินทรีย์มีความนิยมที่เพิ่มมากขึ้น จากการใช้ชีวิตที่เร่งรีบ ขาดการออกกำลังกาย พักผ่อนไม่เพียงพอ อีกทั้งในปัจจุบันยังมีการแพร่ระบาดของโควิด-19 ทำให้คนเริ่มหันมาใส่ใจสุขภาพกันมากขึ้น การเลือกกินผัก-ผลไม้ ที่ผลิตในระบบอินทรีย์จึงเป็นทางเลือกหนึ่งของผู้บริโภค ในด้านการผลิตเกษตรกรหันมาสนใจปลูกผักอินทรีย์เพิ่มมากขึ้น เนื่องจากในการปลูกผักอินทรีย์นั้น ไม่ใช่สารเคมีสังเคราะห์ใดๆ ในทุกขั้นตอนการผลิต ช่วยให้สุขภาพของเกษตรกรดีขึ้น ไม่ต้องเสี่ยงกับการได้รับสารเคมี และยังช่วยรักษาสิ่งแวดล้อม ลดมลภาวะทั้งทางดิน น้ำ และอากาศ แต่ก่อนที่เราจะเริ่มปลูกผักอินทรีย์ เรามาดู 3 ข้อที่ควรรู้และทำความเข้าใจก่อนเริ่มปลูกผักอินทรีย์กันค่ะ
ข้อแรกนี้ถือเป็นสิ่งสำคัญที่เกษตรกรควรรู้ คือ ในปัจจุบันมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ในประเทศไทยจะมีมาตรฐานที่รับรองโดยกรมวิชาการเกษตร และมาตรฐานต่างประเทศที่นิยม ได้แก่ มาตรฐาน IFOAM โดยประเด็นหลักๆ ที่เกษตรกรควรรู้ก่อนการขอรับรองเกษตรอินทรีย์ สามารถเข้าไปอ่านได้ในบทความ ‘เกษตรอินทรีย์ 8 ข้อห้ามทำ 9 ข้อต้องทำ’ ของ ดร.เพชรดา อยู่สุข
ในการปลูกพืช ปัญหาหลักที่จะต้องเจอก็คือปัญหาโรคและแมลง ซึ่งในการปลูกผักอินทรีย์จะไม่สามารถใช้สารเคมีทุกชนิดในการป้องกันและกำจัดโรคและแมลงได้ จะเปลี่ยนจากการใช้สารเคมีเป็นสารชีวภัณฑ์ ร่วมกับการจัดการศัตรูพืชแบบผสมผสาน (Integrated Pest Management : IPM) โดยสามารถทำได้ ดังนี้
- การเขตกรรม : การดูแลแปลงให้สะอาดอยู่เสมอ ไถพรวนกลับหน้าดินเพื่อทำลายไข่และตัวอ่อนแมลง ใส่โดโลไมท์เพื่อปรับความเป็นกรด-ด่าง (pH) ของดิน และปลูกพืชหมุนเวียนเพื่อตัดวงจรโรคและแมลง
- วิธีกล : ใช้กับดักแมลง เช่น กับดักกาวเหนี่ยว จับและทำลายแมลง หนอนภายในแปลง
- ใช้พันธุ์พืชที่ต้านทานโรคและแมลง
- ชีววิธี : ใช้ศัตรูธรรมชาติ เช่น ตัวห้ำ ตัวเบียน และใช้สารชีวภัณฑ์ป้องกันและกำจัดโรคแมลง
โดยสารชีวภัณฑ์ที่ใช้ในพื้นที่สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน) และมูลนิธิโครงการหลวง มีดังนี้
ชื่อสารชีวภัณฑ์ |
ใช้ป้องกันและกำจัด |
พีพี-เมทา |
หนอนกินใบ ด้วงงวงมันเทศ เสี้ยนดิน ด้วงหมัดผัก |
พีพี-ไตรโค |
พ่นทางใบป้องกันโรคใบจุด ใบไหม้ ใช้หยอดลงดินป้องกันโรครากเน่าจากเชื้อรา |
พีพี-สเตร็บโต |
โรครากเน่าจากเชื้อรา Fusarium spp. และ Pythiurm spp. |
พีพี-บีเค 33 |
โรคราเมล็ดผักกาด โรคราน้ำค้าง โรคใบจุด โรคใบไหม้ โรคเหี่ยวเขียว โรคดอกเน่า โรคผลเน่า |
พีพี-บี10 |
โรคเหี่ยวเขียวจากเชื้อแบคทีเรีย Ralstinia solanacearum ในพืชตระกูลพริกและมะเขือ |
พีพี-บี15 |
โรคผลเน่าจากเชื้อรา Colletotrichum, Aspergillus และ Rhizopus sp. ในพืช เช่น พริก |
พีพี-เบ็บ |
แมลงหวี่ขาวในมะเขือเทศ เพลี้ยอ่อน เพลี้ยไฟ มอด แมลงค่อมทอง แมลงหางหนีบ |
น้ำหมักพีพี 1 |
โรคพืชบางชนิดและแมลงปากดูด |
น้ำหมักพีพี 2 |
หนอนกินใบพืชที่อยู่เหนือดิน |
น้ำหมักพีพี 3 |
แมลงปากดูด เช่น เพลี้ยอ่อน เพลี้ยไฟ ไร |
น้ำหมักพีพี 6 |
ด้วงปีกแข็งขนาดเล็ก |
สบู่อ่อน |
50 ml. ใช้ทดแทนสารจับใบ และ 300 ml. กำจัดเพลี้ยอ่อน |
ในการทำเกษตรอินทรีย์ การทำปัจจัยการผลิตไว้ใช้เองเป็นวิธีที่ช่วยให้เกษตรกรสามารถประหยัดค่าใช้จ่าย อีกทั้งยังช่วยให้มั่นใจว่าไม่มีสารเคมีเจือปน ซึ่งปัจจัยการผลิตต่างๆ ที่ใช้ในระบบเกษตรอินทรีย์ เช่น น้ำหมักสมุนไพร ฮอร์โมนไข่ ปุ๋ยหมัก จะช่วยให้พืชผักของเราโตเร็ว น้ำหนักดี มีคุณภาพ ใบสวยขึ้น เกษตรกรสามารถทำไว้ใช้เองได้ง่ายๆ ไม่ยุ่งยาก ในบทความนี้จะขอยกตัวอย่างวิธีการทำฮอร์โมนไข่ โดยมีวิธีการทำ ดังนี้
วิธีทำน้ำหมักฮอร์โมนไข่
อัตราการใช้ 2 ช้อนแกง หรือ 20 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 20 ลิตร เพื่อบำรุงต้นให้เจริญเติบโตเร็ว ใบสวย มีน้ำหนักผลผลิตดี โดยฉีดพ่นบริเวณลำต้นและใบ สัปดาห์ละ 1 ครั้ง และสามารถใช้ฉีดพ่นไม้ผลเพื่อกระตุ้นการออกดอก โดยฉีดพ่นให้ทั่วทรงพุ่ม ข้อควรระวัง หากต้นพืชติดดอกแล้ว ห้ามฉีดพ่นโดนดอก จะทำให้ดอกร่วง ควรหลีกเลี่ยงโดยใช้การราดที่โคนต้นแทน