การส่งเสริมให้กัญชงเป็นพืชเศรษกิจของประเทศได้ ต้องมุ่งเน้นใช้ประโยชน์ในเชิงอุตสาหกรรม และใช้ประโยชน์จากส่วนต่าง ๆ ของกัญชงมากขึ้น การปลูกกัญชงแบบเดิมที่อายุ 90 วัน และใช้ประโยชน์จากเส้นใยเพียงอย่างเดียวนั้น เมื่อเข้าสู่ภาคอุตสาหกรรม จะไม่สามารถแข่งขันกับตลาดต่างประเทศได้ ดังนั้นเพื่อเพิ่มโอกาสทางการตลาดให้สามารถแข่งขันกับตลาดต่างประเทศได้ และเกิดการใช้ประโยชน์จากทุกส่วนของกัญชง โดยปลูกกัญชงที่อายุ 120 วัน จะสามารถใช้ประโยชน์จากเส้นใย แกน ใบ และยอดได้ ทำให้การส่งเสริมการปลูกกัญชงสามารถสร้างอาชีพ และโอกาสทางการตลาดให้กับเกษตรกรในหลายพื้นที่ได้มากยิ่งขึ้น
พันธุ์กัญชง: พันธุ์ RPF1 RPF2 RPF3 RPF4 มีเปอร์เซ็นต์เส้นใย 12.9-14.7% มี THC 0.072-0.27% มี CBD 0.594-1.10%
การปลูก: การปลูกเช่นเดียวกับการปลูกเพื่อใช้ประโยชน์จากเส้นใย โดยปลูกเป็นแถว ระยะห่างระหว่างแถว 20-25 เซนติเมตร
เปลือกกัญชง นอกจากการใช้ประโยชน์ตามวิถีชีวิตของชาวเขาเผ่าม้งแล้ว เปลือกแห้งยังสามารถนำไปแปรรูปในเชิงอุตสาหกรรมเพื่อผลิตเป็นเส้นใยสำหรับใช้ในอุตสาหกรรมสิ่งทอ ซึ่งเส้นใยกัญชงเป็นเส้นใยที่ยาว และมีความแข็งแรง รวมถึงมีคุณสมบัติพิเศษมากมาย เช่น ป้องกันเชื้อราแบคทีเรีย ป้องกันรังสียูวี ระบายอากาศได้ดี จึงเหมาะสมจะเป็นวัตถุดิบชนิดใหม่ในอุตสาหกรรมสิ่งทอ ซึ่งอุตสาหกรรมสิ่งทอนั้นจัดเป็น 2nd wave S-Curve เป็นกลุ่มอุตสาหกรรมที่ต้องการปฏิรูปใหม่ในการใช้เทคโนโลยี นวัตกรรมและวัสดุใหม่ๆในการรองรับการเปลี่ยนแปลง และพัฒนาไปเป็นกลุ่มเป้าหมายอุตสาหกรรมใหม่ (New S-Curve) ดังนั้นจึงเป็นโอกาสที่ดี ที่จะใช้เส้นใยกัญชงเป็นวัตถุดิบใหม่ๆ ในอุตสาหกรรมสิ่งทอของไทย
แกนกัญชง สามารถนำมาเป็นวัตถุดิบและส่วนประกอบในการผลิตวัสดุก่อสร้าง และ Bioplastic ได้ หรือวัสดุทดแทนไม้ ซึ่งแกนกัญชงจะมีน้ำหนักเบากว่าไม้มาก เช่น
ใบและใบยอด สามารถนำไปสกัดสารสำคัญชนิดต่างๆ เช่น