เมล็ดกัญชง นอกจากจะใช้ปลูกเป็นเมล็ดพันธุ์ (Seed) แล้ว ยังสามารถนำมาบริโภคได้ ทั้งเป็นอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง และเป็นเครื่องสำอางช่วยบำรุงผิวพรรณ ด้วยเมล็ดกัญชงมีน้ำมันและโปรตีนสูง มีกรดไขมันไม่อิ่มตัวชนิดโอเมก้า 3 และโอเมก้า 6 ในอัตราส่วน 3 : 1 มีวิตามิน C วิตามิน E ธาตุแมกนีเซียม แคลเซียม และเหล็ก จึงมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์อย่างหลากหลาย เช่น ผลิตภัณฑ์อาหาร : เครื่องดื่ม น้ำมันพืช อาหารเสริมสุขภาพ เต้าหู้โปรตีน เนย ชีส พาสต้า คุกกี้ ขนมปัง ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง: ผลิตภัณฑ์บำรุงผิวรูปแบบต่างๆ เช่น ครีม ซีรั่ม โลชั่น สบู่ แชมพู ลิปบาล์ม
มูลค่าของเมล็ดกัญชงในตลาดโลกในปี พ.ศ. 2563 จัดเป็นอันดับ 2 ของส่วนต่างๆ ซึ่งมีมูลค่าประมาณ 1.37 พันล้านเหรียญสหรัฐ หรือ ประมาณ 4 หมื่นล้านบาท สำหรับในประเทศไทย มีการประเมินว่า ใน 5 ปีข้างหน้า จะมีการเติบโตสูงมาก โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์ อาหารและเครื่องดื่ม แต่จำเป็นต้องศึกษาข้อมูลปัจจัย และเงื่อนไขทั้งด้านการผลิตและการตลาด และวิธีการปฏิบัติ เพื่อวางแผนการผลิตและจำหน่ายอย่างรอบคอบด้วย
กัญชงพันธุ์ RPF1-4 มีปริมาณน้ำมัน 28-29% โปรตีน 21-23% กรดไขมันไม่อิ่มตัวชนิดโอเมก้า 3 และโอเมก้า 6 ในอัตราส่วน 3 : 1 รวมทั้งมีธาตุอาหารสำคัญครบถ้วนเช่นเดียวกับพันธุ์กัญชงในต่างประเทศ และที่สำคัญคือ สามารถเจริญเติบโตได้ดีในสภาพแวดล้อมของประเทศไทย
พันธุ์แนะนำ สำหรับการปลูกผลิตเมล็ดเพื่อการบริโภค คือ RPF1 และ RPF3 เนื่องจากสามารถปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมในพื้นที่ทั่วไปได้ดี และมีปริมาณสารเสพติด THC ต่ำ แม้จะปลูกในสภาพที่มีอากาศร้อน ที่ทำให้ปริมาณ THC เพิ่มสูงขึ้นได้ ก็ยังไม่ไม่เกินปริมาณ 1.0% ตามที่กฎหมายกำหนด
ฤดูกาลปลูก มีผลต่อการผลิตมมาก เนื่องจากกัญชงส่วนใหญ่ตอบสนองต่อช่วงแสงที่แตกต่างกัน สำหรับพันธุ์ RPF1 และ RPF3 ตอบสนองต่อช่วงวันสั้น (กลางวันสั้นกว่ากลางคืน) นั้นหมายความว่า ทั้งสองพันธุ์ จะออกดอกเฉพาะในช่วงวันสั้น หรือ ฤดูหนาว ที่มืดเร็ว หรือประมาณเดือน ต.ค.- ก.พ. ของทุกปี ดังนั้น การวางแผนการปลูกและเก็บเกี่ยว จำเป็นต้องพิจารณาปัจจัยและมีเทคนิคการปลูกต่างๆ เช่น