อาโวกาโด เป็นไม้ผลเขตร้อนของประเทศในทวีปอเมริกากลาง มูลนิธิโครงการหลวงได้นำอาโวกาโดมาส่งเสริมให้เกษตรกรบนพื้นที่สูงปลูกเป็นอาชีพจนเป็นไม้ผลเศรษฐกิจที่สำคัญชนิดหนึ่งในปัจจุบัน โดยมีการศึกษาคัดเลือกพันธุ์สำหรับปลูกเป็นการค้าในประเทศไทย พัฒนาเทคนิคการปลูกและการดูแลรักษา ตลอดจนการประชาสัมพันธ์และส่งเสริมด้านการตลาด ทำให้เป็นที่รู้จักของคนไทย อาโวกาโดสามารถปลูกได้ตั้งแต่พื้นราบจนถึงพื้นที่สูงจากระดับน้ำทะเล 1,000 เมตร เป็นไม้ผลยืนต้นที่มีใบเขียวตลอดปี สามารถปลูกเป็นป่าได้ และมีพันธุ์ที่หลากหลายทำให้เก็บเกี่ยวผลผลิตได้ต่อเนื่อง นอกจากนี้ ยังเป็นผลไม้ที่มีคุณค่าทางอาหารสูงซึ่งปัจจุบันผู้บริโภคได้ให้ความสนใจด้านอาหารสุขภาพมากขึ้น อาโวกาโดจึงเป็นพืชที่มีศักยภาพการผลิตบนพื้นที่สูงและมีโอกาสทางการตลาดอย่างมาก
อาโวกาโดที่เป็นพันธุ์ส่งเสริมหลักของมูลนิธิโครงการหลวง ในปัจจุบัน มี 6 พันธุ์ คือ พันธุ์ปีเตอร์สัน บูช-7 บูช-8 บัคคาเนีย พิงค์เคอตัน และแฮส อย่างไรก็ตาม ยังมีปัญหาเรื่องของการเก็บเกี่ยว โดยเกษตรกรใช้วิธีการสังเกตจากการเปลี่ยนสีผิวของผล แต่บางพันธุ์จะไม่เปลี่ยนแปลงลักษณะภายนอกของผลให้เห็นชัดเจนเมื่อผลแก่และสุก เช่น สีของผิวผลไม่เปลี่ยนสี จึงยากต่อการสังเกตของผู้ปลูกที่ไม่ชำนาญ นอกจากนี้ อาโวกาโดแต่ละพันธุ์ยังมีช่วงการเก็บเกี่ยวผลไม่พร้อมกัน และแม้จะเป็นพันธุ์เดียวกันแต่หากปลูกคนละแห่งที่สภาพแวดล้อมต่างกันอาจทำให้ผลแก่เร็วหรือช้ากว่ากันได้ 1-3 สัปดาห์ จึงทำให้เกษตรกรเก็บเกี่ยวผลที่ยังไม่แก่ และเมื่อนำไปจำหน่าย ผู้บริโภคจะได้รับผลอาโวกาโดที่ไม่สามารถบ่มให้สุกและรับประทานได้
การเก็บเกี่ยวผล วิธีการสังเกตว่าผลอาโวกาโดแก่พร้อมเก็บเกี่ยว มีหลายวิธี คือ
การบ่มผล โดยปกติผลอาโวกาโดดิบยังไม่สามารถนำไปรับประทานได้เนื่องจากมีสารแทนนินสูง จะมีรสขม หากรับประทานมากจะทำให้ปวดศีรษะ จึงต้องบ่มให้สุกโดยวางไว้ในอุณหภูมิห้อง ผลจะสุกภายใน 1 สัปดาห์ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความแก่ของผล อุณหภูมิในที่บ่ม และพันธุ์ (ฉลองชัย, 2544) ในการทดสอบการแก่ของผล ทำได้โดยสุ่มเก็บผลบนต้นทุกๆ สัปดาห์ สัปดาห์ละ 5-10 ผล มาบ่ม วางผลไว้ที่อุณหภูมิห้องนาน 7 วัน หากผลที่เก็บมาเป็นผลแก่ ผลจะสุก ผิวผลจะไม่เหี่ยวย่นหรือแห้ง สามารถรับประทานได้โดยเนื้อผลไม่เหนียว หรือแข็ง และไม่มีรสขม แสดงว่าผลที่อยู่บนต้นสามารถเก็บเกี่ยวได้
พันธุ์อาโวคาโด | การเก็บเกี่ยวผลวาโวคาโด | ||
---|---|---|---|
ช่วงระยะเวลา | อายุผล* (วัน) |
ลักษณะผล | |
1. ปีเตอร์สัน (Peterson) | มิถุนายน - กรกฎาคม | 160 | ผลที่แก่และขั้วผลเปลี่ยนจากสีเขียวเป็นเขียวปนเหลือง เกิดจุดประสีน้ำตาลบนผล มีน้ำหนักแห้ง 22.2% |
2. บูช-7 (Booth 7) | กลางเดือนกันยายน - ตุลาคม | 170 | ผลที่แก่จะมีนวลที่ผิวผล สีผิวผลเป็นสีเขียว เกิดจุดประสีน้ำตาลบนผล มีน้ำหนักแห้ง 14.8% |
3. บูช-8 (Booth 8) | กันยายน - ตุลาคม | 177 | ผลที่แก่จะมีนวลที่ผิวผล สีผิวผลเป็นสีเขียว เกิดจุดประสีน้ำตาลบนผล มีน้ำหนักแห้ง 16.5% |
4. บัคคาเนีย (Buccaneer) | กลางเดือนกันยายน - กลางเดือนตุลาคม | 180 - 187 | ผลที่แก่จะมีนวลที่ผิวผล สีของผลเปลี่ยนเป็นสีเหลืองเล็กน้อย เกิดจุดประสีน้ำตาลบนผล มีน้ำหนักแห้ง 17.0% |
5. พิงค์เคอตัน (Pinkerton) | ตุลาคม - ธันวาคม | 309 | ผลที่แก่ผิวผลจะเปลี่ยนจากสีเขียวเป็นสีเขียวเข้ม มีน้ำหนักแห้ง 30.0% |
6. แฮส (Hass) | พฤศจิกายน - กุมภาพันธ์ | 242 - 250 | ผลที่แก่ผิวผลจะเปลี่ยนจากสีเขียวเข้มเป็นสีม่วงปนเขียว มีน้ำหนักแห้ง 24.7-29.0% |
ในการเก็บเกี่ยวผลอาโวกาโด การนับอายุผล และการหาน้ำหนักแห้งสามารถใช้เป็นดัชนีการเก็บเกี่ยวอาโวกาโดที่ดีที่สุด อย่างไรก็ตาม อาจพิจารณาหลายวิธีประกอบกัน เช่น ลักษณะภายนอกของผล สีผิว การเปลี่ยนสีของเยื่อเปลือกหุ้มเมล็ด เนื่องจากบางพันธุ์ในต้นเดียวกันอาจมีการออกดอกมากกว่า 1 ชุด ทำให้อายุของผลไม่เท่ากัน และควรมีการทดสอบการแก่ของผลก่อนการเก็บเกี่ยว เพื่อให้มั่นใจว่าผลแก่และสามารถนำไปบ่มเพื่อรับประทานได้
288 วัน
299 วัน
309 วัน
346 วัน
อายุผลอาโวโกโดพันธุ์พิงค์เคอตัน (Pinkerton)