ทรัพย์สินทางปัญญา

ทรัพย์สินทางปัญญา หมายถึง ผลงานอันเกิดจากความคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์ ทรัพย์สินทางปัญญาจัดเป็นทรัพย์สินอีกประเภท นอกเหนือจากสังหาริมทรัพย์ และอสังหาริมทรัพย์ ทรัพย์สินทางปัญญาจัดเป็นทรัพย์สินที่ไม่มีรูปร่าง (intangible property) เช่น นวัตกรรมหรือผลงานอันเกิดจากการประดิษฐ์ คิดค้น หรือสร้างสรรค์ของมนุษย์ ซึ่งเน้นที่ผลผลิตของสติปัญญาและความชำนาญ โดยไม่คำนึงถึงชนิดของการสร้างสรรค์หรือวิธีในการแสดงออก ในทางสากลทรัพย์สินทางปัญญาแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่

  1. ทรัพย์สินทางอุตสาหกรรม (Industrial Property) ซึ่งประกอบด้วย สิทธิบัตร อนุสิทธิบัตร เครื่องหมายการค้า ความลับทางการค้า สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ แบบผังภูมิของวงจรรวม
  2. ลิขสิทธิ์ (Copyright)

โดยมีกรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์เป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่กำกับดูแลเกี่ยวกับกระบวนการขอรับความคุ้มครองเพื่อให้ได้มาซึ่งสิทธิของทรัพย์สินทางปัญญาที่กล่าวข้างต้น ปัจจุบันกรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ ได้ทำแผนที่นำทาง (Roadmap) ด้านทรัพย์สินทางปัญญาของประเทศระยะ 20 ปี เพื่อปฏิรูประบบทรัพย์สินทางปัญญาของไทยให้สอดรับกับนโยบายการขับเคลื่อนประเทศไทยสู่ไทยแลนด์ 4.0 ที่เน้นการขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วยนวัตกรรมและปัญญา ซึ่งประกอบด้วย 6 ด้าน ได้แก่

  • วัฏจักรทรัพย์สินทางปัญญา (Intellectual Property Value Chain) 4 ด้าน คือ
  • การสร้างสรรค์ (Creation)
  • การคุ้มครอง (Protection)
  • การใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ (Commercialization)
  • และบังคับใช้กฎหมาย (Enforcement)
  • เกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญาของชุมชนและประเทศ 2 ด้าน ซึ่งเป็นเรื่องที่ไทยมีศักยภาพในการแข่งขัน คือ
  • เรื่องสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (Geographical Indication: GI) และเรื่องทรัพยากรพันธุกรรม (Genetic Resources: GRs)
  • ภูมิปัญญาท้องถิ่น (Traditional Knowledge: TK) และการแสดงออกทางวัฒนธรรมแบบดั้งเดิม (Traditional cultural expressions: TCEs) ที่มา www.ipthailand.go.th

นอกจากนี้ ประเทศไทยยังมีทรัพย์สินทางปัญญาประเภทอื่น เช่น

  • การคุ้มครองพันธุ์พืช อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของกรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ให้การคุ้มครองพันธุ์พืชพื้นเมืองเฉพาะถิ่น พันธุ์พืชพื้นเมืองทั่วไป และพันธุ์พืชใหม่
  • การคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข ให้การคุ้มครองตำรับตำรายา สมุนไพร แหล่งอนุรักษ์สมุนไพร และภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย

จากที่กล่าวมาทรัพย์สินทางปัญญาจึงมีความสำคัญกับงานวิจัยและพัฒนาบนพื้นที่สูง เนื่องจาก สวพส. มีผลผลิตจากงานวิจัยที่เป็นเทคโนโลยี สูตร กรรมวิธี ที่เกี่ยวกับพันธุ์พืชและสัตว์ กอปรกับบนพื้นที่สูงมีความหลากหลายทางชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่น ดังนั้นจึงควรปกป้องผลผลิตจากงานวิจัย รวมทั้งคุ้มครองภูมิปัญญาท้องถิ่น (TK) ทรัพยากรพันธุกรรม (GRs) และการแสดงออกทางวัฒนธรรมแบบดั้งเดิม (TCEs) จากการลักลอบนำไปใช้อย่างไม่เหมาะสม และเพื่อให้เศรษฐกิจ สังคม และชุมชนได้ประโยชน์จากการนำภูมิปัญญาเหล่านี้ของไทยไปพัฒนาต่อยอด

ปัจจุบันทรัพย์สินทางปัญญาที่ สวพส. ยื่นขอรับความคุ้มครองไปแล้วมีทั้งหมด 99 รายการ แบ่งเป็น สิทธิบัตรการประดิษฐ์ 35 รายการ สิทธิบัตรการออกแบบ 4 รายการ อนุสิทธิบัตร 26 รายการ เครื่องหมายการค้า 9 รายการ สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ 1 รายการ ขึ้นทะเบียนพันธุ์ 4 รายการ พื้นที่เขตอนุรักษ์สมุนไพรและถิ่นกำเนิด 2 แห่ง และภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย 3 รายการ ตัวอย่าง เช่น อนุสิทธิบัตรสูตรและกรรมวิธีการผลิตชีวภัณฑ์ที่ใช้กำจัดโรคและแมลงชนิดต่างๆ อนุสิทธิบัตรสูตรตำรับผลิตภัณฑ์บำรุงผมและหนังศีรษะ (Hair tonic) จากสารสกัดหญ้าถอดปล้อง เครื่องหมายการค้า กาแฟ PMO พื้นที่เขตอนุรักษ์สมุนไพรและถิ่นกำเนิดบ้านป่าเกี๊ยะ ลิขสิทธิ์หนังสือสมุนไพรและพืชท้องถิ่นปวาเก่อญอ และลิขสิทธิ์หนังสือการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวผักบนพื้นที่สูง เป็นต้น

ตัวอย่างทรัพย์สินทางปัญญาของ สวพส.

ชุมชนบ้านป่าเกี๊ยะ
(พื้นที่เขตอนุรักษ์สมุนไพรและถิ่นกำเนิด)

 

ตำรับยาสมุนไพรสูตรรักษาอาการกระดูกเเตก
(ภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย)

สูตรตำรับผลิตภัณฑ์บำรุงผมและหนังศีรษะ
(Hair tonic) (อนุสิทธิบัตร)

 

สูตรและกรรมวิธีการผลิตชีวภัณฑ์ที่ใช้กำจัดโรคและแมลงชนิดต่าง ๆ
(อนุสิทธิบัตร)

หนังสือสมุนไพรและพืชท้องถิ่นปวาเก่อญอ
(ลิขสิทธิ์)

กาแฟ PMO
(เครื่องหมายการค้า)

หนังสือการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวผัก
บนพื้นที่สูง (ลิขสิทธิ์)

 
เขียน / เรียบเรียงเรื่องโดย:
งานทรัพย์สินทางปัญญา สำนักวิจัย
source!='') { ?>
แหล่งที่มา / เอกสารอ้างอิง:

ข้อมูลนี้เป็นที่น่าพึงพอใจหรือเป็นประโยชน์สำหรับท่านหรือไม่
 

บทความอื่นที่เกี่ยวข้อง