ภูมิปัญญาการใช้ประโยชน์พืชท้องถิ่น มะเขาควาย

มะเขาควาย หรือชื่อท้องถิ่น มะเขาวัว

มะเขาวัว ชื่อวิทยาศาสตร์ Dittoceras maculatum Kerr วงศ์ APOCYNACEAE เป็นพืชไม้เถาเลื้อยยาว มักเลื้อยพาดตามต้นไม้ใหญ่ ในทุกส่วนของมะเขาควายจะมีน้ำยางสีขาวลักษณะเหมือนน้ำนม ใบเดี่ยวรูปรี ปลายใบแหลม ใบจะออกเรียงเป็นคู่ตรงข้ามกัน ออกดอกเป็นช่อสีขาวในเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม ส่วนผลจะออกเป็นฝักคู่ในเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน และสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ในเดือนสิงหาคม-กันยายน ชอบขึ้นในป่าดิบเขาที่มีความชื้น สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 1,000 เมตรขึ้นไป ในพื้นที่ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงแม่แฮ พบที่บ้านแม่แจ๊ะ ตำบลบ่อแก้ว อำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่ ความสูงจากระดับน้ำทะเล 1,200 เมตร และโครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงบ่อเกลือ พบที่บ้านห้วยโทน ตำบลดงพญา อำเภอบ่อเกลือ จังหวัดน่าน ความสูงจากระดับน้ำทะเล 800-1,200 เมตร

มะเขาควาย ถือเป็นโอกาสการสร้างเศรษฐกิจชุมชน จากฐานชีวภาพของชุมชนบนพื้นที่สูง ซึ่งปัจจุบันนอกจากชุมชนจะนำมารับประทานสด หรือแปรรูปเป็นมะเขาควายดอง หรือแช่อิ่มขายกิโลกรัมละ 80-100 บาท แล้ว บางพื้นที่ยังเป็นผลไม้ส่งออกไปยังต่างประเทศ เช่น อเมริกา เป็นต้น ซึ่งช่วงไหนที่มีผลผลิตออกเยอะ สามารถสร้างรายได้ให้กับชุมชนได้ถึงหลักหมื่นบาทต่อเดือน

คุณค่าทางโภชนาการของมะเขาควาย จำนวน 100 กรัม จะให้พลังงาน 38.72 กิโลแคลอรี คาร์โบไฮเดรต 8.06 กรัม โปรตีน 0.90 กรัม มีเส้นใย 4.28 กรัม แคลเซียม 112.6 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 62.4 มิลลิกรัม และเบต้าแคโรทีน 70.61 ไมโครกรัม

 

ลักษณะของมะเขาควาย

 

การใช้ประโยชน์ตามภูมิปัญญาชาติพันธุ์ของ "ม้ง" และ "ลั้วะ"

 
 
เขียน / เรียบเรียงเรื่องโดย:
ดร.จารุณี ภิลุมวงค์ และนางสาวกมลทิพย์ เรารัตน์
source!='') { ?>
แหล่งที่มา / เอกสารอ้างอิง:

ข้อมูลนี้เป็นที่น่าพึงพอใจหรือเป็นประโยชน์สำหรับท่านหรือไม่
 

บทความอื่นที่เกี่ยวข้อง