ดินเป็นทรัพยากรที่สำคัญต่อการเกษตร เนื่องจากดินเป็นปัจจัยในการดำรงชีวิตของพืช โดยทั่วไปดินที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของพืช จะต้องมีธาตุอาหารที่จำเป็นสำหรับการเจริญเติบโตของพืช ขณะเดียวกันก็ต้องมีคุณสมบัติทางกายภาพที่เหมาะสมสำหรับเป็นที่ย่ารดเกาะของรากพืช ช่วยยึดลำต้นให้แน่น ไม่ให้ล้มเอียง และยังทำหน้าที่เก็บกักน้ำเพื่อการเจริญเติบโตของพืช
การทำการเกษตรติดต่อกันเป็นระยะเวลานานโดยขาดการปรับปรุงบำรุงดิน จะส่งผลต่อคุณสมบัติของดินทั้งทางกายภาพ เคมี และชีวภาพ ทำให้ไม่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของพืช โดยเฉพาะการทำการเกษตรบนพื้นที่สูง ซึ่งพื้นที่ส่วนใหญ่มีความลาดชัน มากกว่า 35 เปอร์เซ็นต์ขึ้นไป ทำให้เกิดปัญหาการชะล้างพังทลายหน้าดิน โดยเฉพาะการทำการเกษตรแบบตัดและเผาที่เปิดหน้าดินโล่งรับแรงปะทะกับเม็ดฝนโดยตรง ส่งผลให้หน้าดินถูกชะล้างไปทุกปีทำให้พื้นที่เกษตรเหลือแต่ดินชั้นล่างที่มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ และเป็นดินปนหิน ไม่สามารถทำการเกษตรได้อย่างมีประสิทธิภาพในระยะยาว
สภาพพื้นที่ทำการเกษตรบนพื้นที่สูง
ดังนั้นการทำการเกษตรบนพื้นที่สูงจำเป็นต้องมีการปรับปรุงดินร่วมกับระบบอนุรักษ์ดินและน้ำ
รวมถึงการวิเคราะห์ดินซึ่งจะนำไปสู่วิธีการหรือแนวทางการปรับปรุงดินที่เหมาะสมต่อไป โดยการปรับปรุงดินแบ่งได้ ดังนี้
การปลูกข้าวโพดเหลื่อมถั่ว
จัดทำคูรับน้ำขอบเขาและปลูกถั่วคลุมดิน
การปลูกแฝกและสับปะรดขวางความลาดชัน