ไม้จันทน์หอม
- ชื่อวิทยาศาสตร์ Mansonia gagei J.R. Drummond
- วงศ์ Sterculiaceae
- จัดเป็นกลุ่มไม้ที่มีเนื้อไม้หอม สถานภาพเป็นไม้ป่าที่ถูกคุกคามต่อการตัดฟันมาใช้ประโยชน์ กอปรกับ ไม้จันทน์หอมในป่าธรรมชาติมีการพัฒนาของกล้าไม้ไปสู่ระยะไม้รุ่นและไม้ใหญ่ในอัตราส่วนที่น้อยมาก ส่งผลให้เกิดการขาดแคลนแม่ไม้ในการกระจายพันธุ์ และอาจนำไปสู่การสูญหายของไม้จันทน์หอมได้ในอนาคต ในปัจจุบันจึงพบหาได้ยากและมีแหล่งปลูกน้อย โดยพบพื้นที่กระจายพันธุ์ตามธรรมชาติและพบไม้จันทน์หอมตามป่าธรรมชาติเพียง 3 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดเพชรบุรี (อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน) จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ (อุทยานแห่งชาติกุยบุรี อุทยานแห่งชาติเขาสามร้อยยอด และ อุทยานแห่งชาติน้ำตกห้วยยาง) และจังหวัดนครศรีธรรมราช (บริษัท ปูนซีเมนต์ไทย (ทุ่งสง) จำกัด)
ฤดูกาลออกดอกออกผลของไม้จันทน์หอมในพื้นที่ธรรมชาติของประเทศไทย
การพัฒนาดอกและผล |
ก.ค. |
ส.ค. |
ก.ย. |
ต.ค. |
พ.ย. |
ธ.ค. |
ม.ค. |
พัฒนาตาดอก |
|
|
|
|
|
|
|
ช่อดอกพัฒนาจนสมบูรณ์ |
|
|
|
|
|
|
|
ดอกบาน (ผสมเกสร) |
|
|
|
|
|
|
|
พัฒนาผล |
|
|
|
|
|
|
|
ผลสุก |
|
|
|
|
|
|
** |
** ช่วงเวลาเก็บผล (เมล็ด)
ลักษณะสภาพแวดล้อมที่พบการปรากฏของไม้จันทน์หอม
การปรากฏของไม้จันทน์หอมมีความจำเพาะกับพื้นที่ที่มีหินปูนเป็นต้นกำเนิด พบในพื้นที่ที่มีความสูงไม่เกิน 650 เมตรจากระดับน้ำทะเล สามารถพบได้ในพื้นที่สูงชัน มีลักษณะพืชพรรณเป็นป่าดิบแล้งผสมเบญจพรรณหรือป่าดิบแล้งระดับต่ำ-กลาง เนื้อดินเป็นดินร่วนเหนียวปนทราย ดินร่วนปนทราย และดินร่วนเหนียว พบขึ้นได้ในพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำถึงสูง มีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยต่อปี 1,000 – 2,500 มิลลิเมตร
การใช้ประโยชน์ที่พบในปัจจุบันและศักยภาพในการนำไปใช้ประโยชน์ด้านไม้ประดับแห้ง
เนื้อไม้:
เนื้อไม้สีน้ำตาลอ่อน แก่นสีน้ำตาลเข้ม เสี้ยนตรง เนื้อละเอียด เลื่อย ไสกบ ตบแต่งง่าย มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว แม้จะเป็นไม้สด เมื่อนำไปเลื่อยมีกลิ่นหอมชัดเจน การใช้ประโยชน์เนื้อไม้ใช้ทำหีบใส่เสื้อผ้า เครื่องกลึงและแกะสลัก หวี ธูป รวมถึงการนำมาใช้ในพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพเจ้านายชั้นสูง และทำดอกไม้จันทน์ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ส่วนขี้เลื่อยใช้ทำธูปหอม
ใบ:
ใบสามารถนำมาฟอกสีเพื่อทำดอกไม้จันทน์ ใช้ประโยชน์เชิงสัญลักษณ์จากที่มาของไม้จันทน์หอม
กิ่งก้าน:
สามารถนำมาตกแต่งเป็นส่วนประกอบของดอกไม้จันทน์ โดยใช้การเหลาเป็นเกลียวหรืออื่นๆ ตามเทคโนโลยีที่มี
ใบจันทน์หอมที่ผ่านการฟอกสี
ดอกไม้จันทน์จากเนื้อไม้จันทน์หอม
ขี้เลื่อยไม้จันทน์หอมเพื่อเป็นวัตถุดิบในการทำธูปหอม
เขียน / เรียบเรียงเรื่องโดย:
กมลทิพย์ เรารัตน์, สำนักวิจัย
if ($details->source!='') { ?>
แหล่งที่มา / เอกสารอ้างอิง:
} ?>