พันธุ์กัญชงกับเมล็ดพันธุ์รับรองตามกฎหมาย

ที่มาและความสำคัญ

มูลนิธิโครงการหลวงและสถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน) หรือ สวพส. ได้รวบรวมพันธุ์กัญชงตั้งแต่ปี พ.ศ. 2550 และเริ่มคัดเลือกพันธุ์ให้มีปริมาณสารเสพติด THC ต่ำ โดยใช้วิธีการคัดเลือกรวม (Mass selection) และในปี พ.ศ. 2554 ได้ขึ้นทะเบียนพันธุ์เฮมพ์ต่อกรมวิชาการเกษตร 4 พันธุ์ คือ RPF1, RPF2, RPF3 และ RPF4 มีสาร THC ต่ำกว่า 0.3% (0.072- 0.270%) และมีปริมาณ CBD เฉลี่ย 0.824% (0.594 - 1.100 %) และมีเปอร์เซ็นต์เส้นใยเฉลี่ย 13.9 % (12.9 – 14.7 %) สามารถเจริญเติบโตและในพื้นที่สูงที่มีแตกต่างกัน

พันธุ์ THC (%) CBD (%) CBD/THC Fiber (%)
RPF1 0.072 0.792 11.0 14.2
RPF2 0.110 1.100 10.0 13.8
RPF3 0.101 0.808 8.0 12.9
RPF4 0.270 0.594 2.2 14.7
เฉลี่ย 0.138 0.824 7.8 13.9
 

กฎกระทรวงการขออนุญาตและการอนุญาตผลิตจำหน่ายหรือมีไว้ในครอบครองซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 เฉพาะเฮมพ์ พ.ศ. 2559” (6 ม.ค.60) ได้ระบุความหมายของ “เมล็ดพันธุ์รับรอง” ไว้คือ เมล็ดพันธุ์เฮมพ์จากพันธุ์พืชที่มีปริมาณสารเตตราไฮโดรแคนนาบินอล (Tetrahydrocannabinol, THC) น้อยกว่าร้อยละ 1.0 ต่อน้ำหนักแห้ง ทั้งนี้ ตามที่ คณะกรรมการประกาศกำหนด โดยการตรวจวิเคราะห์ของห้องปฏิบัติการตรวจวิเคราะห์และเป็นพันธุ์พืช ขึ้นทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยพันธุ์พืช ซึ่งผลิตโดยผู้รับอนุญาตผลิตยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 เฉพาะเฮมพ์ และในบทเฉพาะกาลระบุไว้ว่า ในระหว่างที่ยังไม่มีเมล็ดพันธุ์รับรองตามกฎกระทรวงนี้ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตผลิต และใบอนุญาตมีไว้ในครอบครองซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 ที่ออกตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2522) ออกตามความในพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522

หรือกฎกระทรวง ว่าด้วยการขออนุญาตและการอนุญาตผลิต จำหน่าย นำเข้า ส่งออก หรือมีไว้ในครอบครองซึ่งยาเสพติด ให้โทษในประเภท 4 หรือในประเภท 5 และได้รับหนังสือรับรองพันธุ์พืชขึ้นทะเบียนกับกรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ตามกฎหมายว่าด้วยพันธุ์พืชก่อนวันที่กฎกระทรวงนี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา และมีผลการตรวจวิเคราะห์ปริมาณสารเตตราไฮโดรแคนนาบินอล (Tetrahydrocannabinol, THC) น้อยกว่าร้อยละ 1.0 ต่อน้ำหนักแห้ง โดยกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข เป็นผู้ผลิต และมีไว้ในครอบครองเมล็ดพันธุ์เฮมพ์ ประกอบกับกฎกระทรวงฯ เฮมพ์ระบุในระยะเวลา 3 แรกที่มีผลบังคับใช้ ให้เฉพาะหน่วยงานรัฐเป็นผู้ขออนุญาตเท่านั้น ทำให้ สวพส. เป็นหน่วยงานเดียวเท่านั้นที่มีคุณสมบัติครบถ้วนในการผลิตเมล็ดพันธุ์รับรองในปัจจุบัน

 

การผลิตเมล็ดพันธุ์เฮมพ์ของ สวพส. ประกอบด้วย 4 ขั้นตอนคือ

**** หากเมล็ดพันธุ์ขยาย มีปริมาณเพียงพอ สามารถใช้เป็นเมล็ดพันธุ์รับรองส่งเสริมแก่เกษตรกรได้

 

ปัจจุบัน สวพส. ได้รวบรวบพันธุ์กัญชงจากพื้นที่สูง และพื้นที่อื่นๆ กว่า 30 สายพันธุ์ สำหรับใช้คัดเลือกและปรับปรุงพันธุ์ให้สอดคล้องกับความต้องการใช้ประโยชน์ทั้งด้านอาหาร เครื่องสำอาง และการแพทย์ เช่น พันธุ์ที่มี CBD สูง พันธุ์สำหรับผลิตเมล็ดที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง และมีเป้าหมายที่จะขึ้นทะเบียนพันธุ์อย่างสม่ำเสมอ

การผลิตเมล็ดพันธุ์ในแต่ละปี สวพส.จะวางแผนตามความต้องการใช้ประโยชน์ โดยปลูกช่วงเดือน พ.ค.-ก.ค. และเก็บเกี่ยวช่วงเดือน พ.ย.- ธ.ค. ประมาณปีละ 2,000- 3,000 กิโลกรัม หากมีผู้สนใจใช้เมล็ดพันธุ์ของ สวพส. สามารถทำหนังสือถึงผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูงไว้ล่วงหน้าให้สอดคล้องกับฤดูกาลผลิตได้ โดยการรับ-ส่งเมล็ดนั้น ทั้งสองฝ่ายต้องได้รับอนุญาตจากกระทรวงสาธารณสุขก่อนเสมอ

 
เขียน / เรียบเรียงเรื่องโดย:
ดร.สริตา ปิ่นมณี, สำนักวิจัย
source!='') { ?>
แหล่งที่มา / เอกสารอ้างอิง:

ข้อมูลนี้เป็นที่น่าพึงพอใจหรือเป็นประโยชน์สำหรับท่านหรือไม่
 

บทความอื่นที่เกี่ยวข้อง