ปรับ “น่าน” เปลี่ยน ปรับ “เล็ก” เพื่อเปลี่ยน “ใหญ่” จากถังพลาสติกสู่ Zero Waste ได้อย่างไร

ปรับ “น่าน”เปลี่ยน

ตอนที่ 1 ปรับ “เล็ก” เพื่อเปลี่ยน “ใหญ่”

จากถังพลาสติกสู่ Zero Waste ได้อย่างไร

 

เรียบเรียงโดย : นางสาวเพียงออ ศรีเพ็ชร นักวิชาการส่งเสริมและพัฒนา 5

ข้อมูลและภาพโดย
1. กลุ่มเกษตรกรปางแก-มณีพฤกษ์
2. นายสมบัติ สารใจ หัวหน้าโครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงถ้ำเวียงแก
3. นายประสิทธิ์ จ๊ะแต๊ะ เจ้าหน้าที่โครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงถ้ำเวียงแก
4. นางสาวนลินนุช วังกาวี เจ้าหน้าที่โครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงถ้ำเวียงแก

 

 

      ถ้าภาพสวยงามหนึ่งภาพเกิดจากจุดเล็กๆ นับหมื่นนับแสนรวมกันฉันใด งานพัฒนาชุมชนเองก็ย่อมเกิดจากองค์ประกอบย่อยๆ มากมายหลายร้อยหลายพันเช่นกัน และนี่เป็นอีกหนึ่งจุดเล็กที่เกิดจากการสังเกต เรียนรู้ และปรับเปลี่ยนเพื่อสิ่งที่ดีกว่าของกลุ่มเกษตรกรเล็กๆ กลุ่มหนึ่งที่บ้านปางแก อ.ทุ่งช้าง จ.น่าน ที่ร่วมเปลี่ยนโลกด้วยการปลูกพืชเศรษฐกิจทางเลือกใหม่ภายใต้ระบบโรงเรือนทดแทนการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์/กะหล่ำปลีซึ่งเป็นพืชรายได้หลักบนพื้นที่สูงตามวิถีเดิมแต่ไม่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม 

 

     เมื่อพืชในโรงเรือนสร้างอาชีพใหม่ สร้างรายได้ สามารถตอบโจทย์การพัฒนาคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากกว่าพืชเดิม จากจุดเริ่มต้นเล็กๆเพียง 5 ราย ได้ขยายและเกิดการรวมกลุ่มเป็นสถาบันเกษตรกรปัจจุบันมีสมาชิก 32 ราย ร่วมกันเรียนรู้และต่อยอดพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในชุมชนให้ดีขึ้น การปรับเพื่อเปลี่ยนจุดเล็กๆ ใกล้ตัวที่น่าสนใจมาก คือ #การใช้ถังน้ำพลาสติกทดแทนการใช้ถุงพลาสติกสีขาวนม ลองคำนวนง่ายๆ ถ้าปลูกพริกหวาน  1 โรงเรือน ขนาด 24x45 เมตร


ข้อดีคือ 

* ลดปริมาณขยะ และสามารถใช้ซ้ำได้จำนวนครั้งที่มากกว่าการใช้ถุงพลาสติก (Reduce & Reuse)

* เมื่อหมดอายุการใช้งานแล้ว ถังน้ำสามารถขายเป็นพลาสติกรีไซเคิลได้  (Recycle)

* ลดต้นทุนเรื่องแรงงานเรื่องการเตรียมวัสดุ การขนย้าย การจัดการแปลง ลดเวลาและการเดินทางในการจัดซื้อ (Save Cost & Time)

 

จากจุดเปลี่ยนเล็กๆ นี้ก็สามารถเปลี่ยนแปลงโลกได้ตามแนวคิด “ขยะเหลือศูนย์ (Zero Waste)"  ช่วยกันลดขยะตั้งแต่ต้นทาง ทำให้ปริมาณขยะที่ต้องนำไปกำจัดให้ลดเหลือน้อยที่สุดจนเป็นศูนย์ เน้นการลด การใช้ซ้ำ และการคัดแยกเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่ ถ้าเราร่วมปรับและเปลี่ยนไปด้วยกันจากจุดเล็กๆ หลายๆจุด ก็จะช่วยเปลี่ยนโลกเราให้น่าอยู่ได้

 

โครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงถ้ำเวียงแก อำเภอสองแคว จังหวัดน่าน

สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน) 65 หมู่ 1 ถนนสุเทพ ตำบลสุเทพ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ 50200 โทรศัพท์:053-328496-8 โทรสาร:053-328494, 053-328229 Email: [email protected]

Facebook: https://www.facebook.com/hrdi.or.th/

Youtube: https://www.youtube.com/user/HRDIPublicOrg/videos

 

 

 

หมายเหตุ

แนวคิดสำหรับของเสียเหลือศูนย์หรือ Zero waste เป็นปรัชญาที่ส่งเสริมการหมุนเวียนทรัพยากรให้กลับมาใช้ใหม่เพื่อเป็นการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด และเป็นการลดปริมาณของเสียที่เกิดขึ้นให้เหลือน้อยลง อีกทั้งเพื่อลดปัญหามลพิษต่างๆจากการกำจัดของเสียโดยวิธีการฝังกลบและ/หรือเตาเผาอีกด้วย เพราะในปัจจุบันมีข้อจำกัดด้านพื้นที่สำหรับกำจัดของเสียและวิธีการควบคุมมลพิษด้านกลิ่นและไอระเหยที่ต้องมีค่าใช้จ่ายการลงทุนที่ค่อนข้างสูง และเกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมตามมาอย่างมหาศาล โดยใช้หลักการที่เรียกว่า 1A3R ซึ่งประกอบด้วย

     Avoid หลีกเลี่ยงการใช้วัสดุที่ก่อให้เกิดขยะที่ยากต่อการกำจัด

     Reduce ลดการซื้อ การใช้วัสดุที่ก่อให้เกิดขยะ

     Reuse การนำวัสดุที่ผ่านการใช้งานแล้วนำกลับมาใช้งานใหม่

     Recycle การนำวัสดุเหลือใช้มาแปรรูปเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่

ข้อมูลจาก สมาคมพัฒนาคุณภาพสิ่งแวดล้อม https://adeq.or.th/

 

 
เขียน / เรียบเรียงเรื่องโดย:
นางสาวเพียงออ ศรีเพ็ชร นักวิชาการส่งเสริมและพัฒนา 5
source!='') { ?>
แหล่งที่มา / เอกสารอ้างอิง:

ข้อมูลนี้เป็นที่น่าพึงพอใจหรือเป็นประโยชน์สำหรับท่านหรือไม่
 

บทความอื่นที่เกี่ยวข้อง