กาแฟ (ห้วยโทน) สวมหมวกบนยอดดอย

กาแฟ (ห้วยโทน) สวมหมวกบนยอดดอย

ในเขตพื้นที่อำเภอบ่อเกลือประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวเขา ชนเผ่าลั๊วะ ประกอบอาชีพทำข้าวไร่และหาของป่าเพื่อเลี้ยงชีพ จึงมีการบุกรุกพื้นที่ป่าเผาถางเพื่อทำไร่จึงทำให้เกิดปัญหามลพิษหมอกควัน ซึ่งตั้งแต่โครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงบ่อเกลือเข้ามาดำเนินการ ได้มีการสนับสนุนเกษตรกรในหลายด้านโดยโครงการมองเห็นถึงความเป็นอยู่ที่ดีของเกษตรกรทำให้เกษตรมีรายได้ควบคู่กับการอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ทางโครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงบ่อเกลือได้ส่งเสริมให้เกษตรกรบนพื้นสูงปลูกกาแฟอราบิก้าภายใต้ร่มเงาของป่าควบคู่ไปกับการดูแลกาแฟ ซึ่งตั้งแต่นั้นมากาแฟ (ห้วยโทน) ก็ได้เป็นที่นิยมและได้เริ่มพัฒนาขึ้นเรื่อย ๆ

โดยมีการอบรมเกี่ยวกับองค์ความรู้ของสถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน) ทำให้ตอนนี้กาแฟไม่เพียงพอต่อความต้องการของผู้บริโภค ทางโครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงบ่อเกลือได้สนับสนุนต้นกล้ากาแฟอราบิก้าอย่างต่อเนื่องเพื่อสร้างรายได้และความเป็นอยู่ที่ดีของเกษตรกรควบคู่กับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และเมื่อเกษตรกรมีความต้องการปลูกกาแฟอราบิก้าเพิ่มขึ้น แน่นอนว่าขณะนี้บริเวณยอดดอยเต็มไปด้วยป่าที่เต็มไปด้วยต้นกาแฟอราบิก้าซึ่งต้องการร่มเงาจากต้นไม้ใหญ่นานาชนิดบนยอดดอย และแนวโน้มในอนาคตเกษตรกรบนพื้นที่สูงจะปลูกกาแฟอราบิก้าเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ทุกปี ทำให้เกษตรเห็นความสำคัญของสิ่งแวดล้อมช่วยกันดูแลอนุรักษ์ธรรมชาติและต้นไม้ใหญ่หรือไม้ผลที่สามารถให้ร่มเงาแก่กาแฟของเกษตรกรบนพื้นที่สูง (บ้านห้วยโทน) ซึ่งทำให้ชาวบ้านเห็นความสำคัญของป่าและไม่มีการบุกรุกป่าอีกแล้วเพราะทางเลือกในการดำรงชีวิตของเกษตรกรเพิ่มขึ้น

ทำให้เริ่มมีวิถีชีวิตที่แตกต่างไปจากเดิม โดยเมื่อก่อนเกษตรกรทำแต่ข้าวไร่ซึ่งทำให้มีการบุกรุกพื้นที่ป่าเพิ่มขึ้นทุกปี แต่ตอนนี้เมื่อมีทางเลือกมากขึ้น จากการทำข้าวไร่ก็เปลี่ยนเป็นนาขั้นบันได เพื่อลดพื้นที่การปลูกแต่ให้ผลผลิตที่เยอะขึ้น และสามารถปลูกที่เดิมได้ โดยไม่ต้องทำเป็นข้าวไร่หมุนเวียนอีกต่อไป เมื่อไม่บุกรุกป่าก็หันมาดูแลป่าเพื่อที่จะปลูกกาแฟสร้างรายได้อีกทางหนึ่งซึ่งอาจจะเป็นรายได้หลักเลยก็ว่าได้สำหรับการปลูกกาแฟของหมู่บ้านห้วยโทน เพราะข้าวที่เกษตรกรปลูกนั้นไม่ได้จำหน่ายแต่จะปลูกเพื่อบริโภคภายในครอบครัว และขณะทางโครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงบ่อเกลือ กำลังผลักดันให้กาแฟ (ห้วยโทน) ได้รับการรับรองจากองค์การอาหารและยา (อย.) ซึ่งจะทำให้ผู้บริโภคมีความมั่นใจมากขึ้นในแบรนด์ของกาแฟห้วยโทน และทั้งหมดนี้คือการส่งเสริมอย่างเป็นกระบวนการเพื่อเพิ่มพื้นที่สีเขียวแก่ป่า หรือเป็นการสวมหมวกบนยอดดอยนั้นเอง

 

   
 
เขียน / เรียบเรียงเรื่องโดย:
โครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงบ่อเกลือ
source!='') { ?>
แหล่งที่มา / เอกสารอ้างอิง:

ข้อมูลนี้เป็นที่น่าพึงพอใจหรือเป็นประโยชน์สำหรับท่านหรือไม่
 

บทความอื่นที่เกี่ยวข้อง