การศึกษาค้นคว้าข้อมูลในแหล่งต่างๆ ประกอบกับผลการทดสอบฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของสารสกัดหญ้าถอดปล้องที่มีฤทธิ์เด่นๆ ในการยับยั้งเอนไซม์ 5α-reductase สาเหตุผมร่วงและช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงของผม จึงได้นำมาพัฒนาผลิตภัณฑ์แฮร์โทนิคที่มีประสิทธิภาพในการบำรุงรากผมและหนังศีรษะให้แข็งแรง ลดปัญหาเส้นผมอ่อนแอ ผมหลุดร่วง และศีรษะล้าน
ในปีงบประมาณพ.ศ. 2563 สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง ดำเนินการจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญาใหม่ที่เกิดจากผลงานวิจัย ประเภทอนุสิทธิบัตร จำนวน 2 รายการ คือ 1.ชุดตรวจวัดและกรรมวิธีการตรวจวัดทีเอชซีสำหรับเฮมพ์ และ 2. ชุดตรวจวัดปริมาณสารทีเอชซีภาคสนาม
ต้มไก่สมุนไพร เป็นอาหารเพื่อสุขภาพที่นิยมบริโภคเฉพาะในกลุ่มชาติพันธุ์ม้ง โดยมีการรักษาภูมิปัญญาและสืบทอดองค์ความรู้จากรุ่นหนึ่งไปสู่อีกรุ่นหนึ่งอย่างต่อเนื่อง สรรพคุณหลักคือ บำรุงร่างกาย บำรุงกำลัง บำรุงกล้ามเนื้อและเส้นเอ็น บำรุงโลหิต บรรเทาอาการปวดเมื่อยเนื้อตัว ปวดหลังและปวดเอว
กระเทียม เป็นพืชสมุนไพรที่นิยมนำมาใช้เป็นส่วนประกอบในอาหารไทย อุดมไปด้วยไฟโตนิวเทรียนท์ที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย พื้นที่ภาคเหนือเป็นพื้นที่ที่มีอากาศหนาวเย็นเหมาะสมกับการปลูกกระเทียม โดยมีพื้นที่ปลูกกระเทียม 70,927 ไร่ หรือคิดเป็นร้อยละ 98 ของพื้นที่ปลูกกระเทียมทั้งประเทศไทย
ปัจจุบัน การนำเทคโนโลยีการผลิตพืชผักและองุ่นภายใต้โรงเรือนแบบโครงการหลวงมาถ่ายทอดและเสริมเสริมแก่เกษตรกร เป็นต้นแบบการพัฒนาอาชีพแก่ชุมชนบนพื้นที่สูงอีกรูปแบบหนึ่งที่สามารถตอบโจทย์ด้านรายได้เป็นอย่างดี
อะโวคาโดเป็นผลไม้ที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง และเป็นไม้ผลยืนต้นที่มีใบเขียวตลอดปี ทำให้ปลูกเป็นป่าได้โดยเฉพาะบนพื้นที่สูง และปลูกได้ตั้งแต่พื้นราบจนถึงพื้นที่สูงมากกว่า 1,000 เมตรจากระดับน้ำทะเล (MSL) ซึ่งอะโวคาโดมีหลากหลายพันธุ์ที่ให้ผลที่มีคุณภาพดี จึงควรเลือกพันธุ์ให้เหมาะสมกับพื้นที่
สำหรับประเทศไทยได้มีการใช้หลังคาพลาสติกในการปลูกองุ่นโดยเฉพาะอย่างยิ่งการปลูกองุ่นในพื้นที่ของมูลนิธิโครงการหลวงและโครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวง ส่งผลให้คุณภาพของผลผลิตองุ่นดีกว่าการปลูกกลางแจ้ง
อายุหรือระยะของดอกไม้สำหรับการตัด มีความสำคัญสำหรับดอกไม้ทุกชนิด การตัดดอกไม้ในช่วงอายุที่เหมาะสมจะช่วยรักษาคุณภาพของดอกไม้ได้มากและเป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้ดอกไม้ ส่วนมากจะตัดดอกไม้ในขณะที่ดอกยังตูมหรือเริ่มบานบางส่วน
การจัดการปุ๋ยเพื่อเพิ่มผลผลิตข้าวนาบนพื้นที่สูง พื้นที่โครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวง ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่สูงในภาคเหนือ มีระดับความสูงตั้งแต่ 500-มากกว่า 1,000 เมตรจากระดับน้ำทะเล มีชุมชนที่ทำนาเป็นหลักหลากหลายชุมชน ซึ่งมีทั้งชุมชนที่เป็นคนไทยพื้นเมือง ชนเผ่ากะเหรี่ยงหรือปกาเกอะญอ และชนเผ่าลั๊วะ เป็นต้น ข้าวนาเป็นพืชอาหารที่สำคัญของชุมชนบนพื้นที่สูง โดยเกษตรกรจะปลูกข้าวไว้สำหรับบริโภค เป็นการสร้างความมั่นคงด้านอาหารของครัวเรือน พันธุ์ข้าวที่ปลูกบนพื้นที่สูงส่วนใหญ่คือพันธุ์ท้องถิ่นหรือพันธุ์พื้นเมือง (Local variety) โดยปลูกข้าวปีละครั้ง อาศัยน้ำฝนเป็นหลัก (ฤดูนาปี) พื้นที่ปลูกข้าวนาส่วนใหญ่เป็นนาขั้นบันไดขนาดเล็กระหว่างหุบเขา ทำให้พื้นที่ที่เหมาะสมกับการปลูกข้าวมีจำกัด ผลผลิตต่อพื้นที่ต่ำ จากการสำรวจพบว่านอกจากปัญหาโรคและแมลงแล้วยังมีปัญหาเรื่องดินเสื่อมโทรม และเมล็ดข้าวลีบ บางชุมชนต้องซื้อข้าวมาบริโภค เกษตรกรจึงหาทางแก้ปัญหาเพื่อเพิ่มผลผลิตข้าวโดยการใส่ปุ๋ย โดยเกษตรกรไม่รู้เลยว่าปุ๋ยที่ซื้อมาใส่นั้น เหมาะสมกับพื้นที่นาของตัวเองหรือไม่ ทำให้การใช้ปุ๋ยไม่เกิดประสิทธิภาพและเป็นการเพิ่มต้นทุนโดยไม่จำเป็น จากการเก็บตัวอย่างดินในพื้นที่ปลูกข้าวนาในพื้นที่โครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวง 17 แห่ง ไปวิเคราะห์สมบัติดินและปริมาณธาตุอาหารในดิน พบว่าดินที่ปลูกข้าวนาบนส่วนใหญ่เป็นกรดรุนแรงมาก–กรดจัด ในขณะที่(<3.5 - 5.5) มีปริมาณอินทรียวัตถุสูง (>2.5 %) มีปริมาณโพแทสเซียม แคลเซียม และแมกนีเซียมสูง ในขณะที่มีปริมาณฟอสฟอรัส ทองแดง สังกะสีและโบรอนต่ำ ซึ่งการขาดธาตุอาหารดังกล่าวมีผลต่อการเจริญเติบโต และการติดเมล็ดของข้าวซึ่งเป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ข้าวเมล็ดลีบ จากการทดสอบการจัดการปุ๋ยข้าวนาแบบชุมชนมีส่วนร่วม (community participatory research) ในแปลงนาของเกษตรกรในพื้นที่โครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวง 4 แห่ง ได้แก่โครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงบ่อเกลือ จ.น่าน โครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงปางหินฝน แม่มะลอ และผาแตก จ.เชียงใหม่ การจัดการปุ๋ยข้าวนาสามารถทำได้ 2 วิธี
ชุมชนมีข้าวเพียงพอต่อการบริโภค มีเวลาไปดูแลสวนกาแฟ ได้อากาศที่บริสุทธิ์ และพื้นที่ป่าคืนกลับมา
การเลี้ยงหมูของเกษตรกรบนพื้นที่สูงส่วนใหญ่นิยมเลี้ยงเพื่อบริโภค และนำไปใช้ประกอบในพิธีกรรมต่างๆ ตามความเชื่อ ที่เหลือจึงจำหน่ายเป็นรายได้ ส่วนใหญ่จะเลี้ยงโดยให้กินเศษอาหารและเศษเหลือทิ้งทางการเกษตร
ในเขตพื้นที่อำเภอบ่อเกลือประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวเขา ชนเผ่าลั๊วะ ประกอบอาชีพทำข้าวไร่และหาของป่าเพื่อเลี้ยงชีพ
ชุมชนป่าเมี่ยง เป็นชุมชนเล็กๆ กระจายตัวอยู่บนพื้นที่สูงล้อมรอบไปด้วยป่าและแหล่งต้นน้ำที่อุดมสมบูรณ์ ชาวป่าเมี่ยงมีวิถีชีวิตที่เรียบง่ายอยู่กับธรรมชาติ มีอาชีพหลักคือการทำสวนวนเกษตร ที่มุ่งเน้นการปลูกเมี่ยงผสมผสานกับไม้ป่า ไม้ผล พืชผัก พืชสมุนไพร และไม้ใช้สอยต่างๆ ที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต ช่วยสร้างรายได้ และรักษาสมดุลของระบบนิเวศ
ปัจจุบันกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผักปลอดภัยแม่จริม มีการบริหารและขับเคลื่อนงานโดยคณะกรรมการที่ได้รับการเลือกตั้งจากสมาชิก โดยได้รับคำแนะนำเรื่องการบริหารจัดการและการดำเนินงานจากนักวิชาการประจำพื้นที่ เจ้าหน้าที่ส่งเสริมและนักวิชาการรายสาขาของสถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง คอยเป็นพี่เลี้ยงในการติดตามให้คำแนะนำ โดยการนำองค์ความรู้จากโครงการหลวงมาปรับใช้ นำผลการศึกษาเรื่องการจำหน่ายและการบริโภคพืชผักภายในจังหวัดน่าน