ไฮเดรนเยียเป็นไม้ดอกไม้ประดับเมืองหนาวที่ได้รับความนิยมทั่วโลก เนื่องจากมีดอกขนาดใหญ่และสีสันสวยงามสะดุดตา สายพันธุ์ที่เป็นที่รู้จักและนิยมใช้เป็นไม้ประดับ คือ Hydrangea macrophylla ซึ่งมีมากกว่า 600 พันธุ์
การตรวจวิเคราะห์สารตกค้างในผลิตผลอินทรีย์...อาจไม่จำเป็นเลย หากเกษตรกรมีคุณธรรม และปฏิบัติตามมาตรฐาน จากประสบการณ์ของผู้เขียน การขอรับการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์แบบกลุ่มหรือโครงการซึ่งมีเกษตรกรเป็นสมาชิกจำนวนมาก จำเป็นต้องมีการสุ่มตรวจสารตกค้างในผลิตผล ซึ่งถือเป็นการคัดกรองระดับหนึ่งเพื่อป้องกันการละเมิดมาตรฐาน และเพื่อป้องกันผลกระทบต่อกลุ่มเกษตรกรทั้งหมด
ผลผลิตมูลนิธิโครงการหลวงและ สวพส.มีจุดแข็ง คือ สภาพอากาศของพื้นที่ปลูกที่ส่งผลดีต่อคุณภาพผลผลิต มีสายพันธุ์ที่ให้คุณภาพผลที่ดี มีแหล่งผลิตกล้าพันธุ์ที่มีคุณภาพ และมีเจ้าหน้าที่ส่งเสริมที่มีประสบการณ์และความเชี่ยวชาญให้คำแนะนำ ด้านการตลาดมีช่องทางการจำหน่ายเป็นของตนเอง มีมาตรฐานความปลอดภัยของผลผลิตและการคัดคุณภาพที่สูง ได้รับการยอมรับและเชื่อมั่นจากผู้บริโภค
IPM คือ การจัดการศัตรูพืชแบบผสมผสาน (Integrate Pest Management) เป็นการเลือกใช้วิธีควบคุมศัตรูพืชวิธีการต่างๆ และนำมาใช้ร่วมกัน ผสมผสานกัน ให้ถูกต้อง ถูกเวลา เหมาะสมกับสถานการณ์ และสภาพพื้นที่ โดยใช้กลไกการควบคุมโดยศัตรูธรรมชาติ ใช้สารป้องกันกำจัดศัตรูพืชที่เหมาะสมกับศัตรูพืช เน้นความปลอดภัย เพื่อลดปริมาณศัตรูพืชในพื้นที่นั้น
การถอดบทเรียนเป็นการสรุปประสบการณ์การทำงาน ผ่านการเล่าเรื่องเพื่อให้ได้ข้อมูลความรู้ และทักษะจากเกษตรกรบนพื้นที่สูงที่มีประสบการณ์ ความสามารถและความเชี่ยวชาญในเรื่องต่างๆ โดยใช้วิธีการสกัดความรู้ และประสบการณ์ที่ฝังลึกจากเกษตรกร การบันทึกรายละเอียดขั้นตอนการปฏิบัติงาน ผลการปฏิบัติงาน รวมทั้งความรู้ใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นระหว่างการปฏิบัติงาน ตลอดจนการนำความรู้นั้นมาวิเคราะห์ และเรียบเรียงให้เป็นภาษาที่เข้าใจง่าย
เกษตรกรมีความพึงพอใจมากเพราะมีรายได้เพิ่มจากการขายถั่วและเป็นการบำรุงดิน หลังจากเก็บเกี่ยวถั่วลิสงและถั่วพร้าแล้ว ใบต้นมันสำปะหลังจะเริ่มชิดกันทำให้บังแสงแดด หญ้าจึงไม่สามารถขึ้นระหว่างร่องได้ เป็นการลดการใช้ยากำจัดวัชพืชอีกทางหนึ่ง อีกทั้งช่วยรักษาความชื้นในดินและลดการสูญเสียหน้าดินได้ด้วย
ในมาตรฐานการปลูกพืชทั้งในเกษตรอินทรีย์ และ GAP มักจะเจอคำ 2 คำ “ปลอมปน” กับ “ปนเปื้อน” ซึ่งทั้ง 2 กรณี ถือเป็นการ “ละเมิด” มาตรฐานขั้นรุนแรงทั้งสิ้น
ในคราวที่มีการฝึกอบรมเทคนิคการเป็นผู้ตรวจรับรองภายในของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการปลูกผักอินทรีย์และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ในพื้นที่โครงการหลวง ได้มีการระดมความคิด เพื่อสรุป ‘ข้อห้ามทำ’ และ ‘ข้อที่ต้องทำ’ โดยพิจารณาจากข้อกำหนดในมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ที่เกี่ยวข้อง
กาแฟอราบิก้าเป็นพืชที่มีการปลูกบนพื้นที่สูงอย่างแพร่หลาย สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน) หรือสวพส ได้วิจัยและส่งเสริมการปลูกกาแฟอราบิก้าให้กับเกษตรกรบนพื้นที่สูง เพื่อให้เกษตรกรสามารถผลิตกาแฟอราบิก้าโดยใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม และสอดคล้องกับสภาพพื้นที่ของตนเองทั้งการปลูกเป็นพืชเชิงเดี่ยวและการปลูกร่วมกับต้นไม้ใหญ่
การตรวจรับรองแปลง สิ่งสำคัญที่ผู้ตรวจรับรองต้องร้องขอจากเกษตรกร คือ “บันทึกการใช้ปัจจัยการผลิต” (ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก ชีวภัณฑ์ ฯลฯ) สิ่งที่เกษตรกรต้องจดบันทึก
ด้วยคำพูดติดปาก “ลองทำดู” พี่ประสิทธิ์จึงไม่เคยหยุดยั้งที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่ คอยหาความรู้เพิ่มเติมจากการสอบถามเจ้าหน้าที่ เข้าร่วมการฝึกอบรม และใฝ่หาความรู้ใหม่ๆ จากอินเตอร์เน็ต โดยในปี 2562 ได้ร่วมวิเคราะห์พื้นที่กับนักวิจัยและนักพัฒนา ในการใช้ประโยชน์ที่ดินหลังนาสร้างรายได้หมุนเวียนเพิ่มขึ้น
การปลูกพืชผักทั้งในและนอกโรงเรือนเพื่อขาย สิ่งที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งคือ ต้องพิจารณาจากความต้องการของตลาดหรือลูกค้าเป็นหลัก ทั้งในเรื่องของปริมาณและคุณภาพที่ลูกค้าต้องการ เพื่อนำมาใช้ในการคำนวณจำนวนต้นให้สอดคล้องกับปริมาณความต้องการ รวมทั้งวางแผนการปลูก และสามารถส่งมอบให้กับลูกค้าได้
สภาพภูมิอากาศที่แปรปรวนและเริ่มรุนแรงขึ้นในปัจจุบัน ส่งผลกระทบต่อการปลูกพืช อย่างเช่น ในฤดูฝน ซึ่งมักจะตามมาด้วยสภาพฟ้าปิด คือ มีเมฆมากจนไม่มีแสงให้พืชได้สร้างอาหารเพื่อเจริญเติบโต หรือหลังฝนตกแล้วมีแดดเปรี้ยง! ก็จะนำมาซึ่งอาการผิดปกติของพืช หรือพืชอ่อนแอจนมีโรค-แมลงเข้าทำลายซ้ำ ในขณะที่พอถึงฤดูแล้ง ก็มีแมลงเข้าทำลาย จนไม่สามารถเก็บเกี่ยวผลิตผลได้
ตลอดระยะเวลา 8 ปีที่ได้เข้าร่วมงานส่งเสริมและงานวิจัยกับ สวพส. พะติ๊คาซุ ได้เรียนรู้ว่าการจะเลือกทางเลือกที่ถูกทางได้ จำเป็นต้องมีความรู้และพี่เลี้ยงที่คอยแนะนำและให้กำลังใจอย่างสม่ำเสมอ พะติ๊คาชุ ได้รับโอกาสในการปรับพื้นที่ข้าวไร่เป็นนาขั้นบันได มีความรู้การเฝ้าระวังแมลงศัตรูข้าว ทำให้ครอบครัวมีความมั่นคงด้านอาหาร