ราก…เป็นส่วนประกอบหนึ่งของพืช มีหน้าที่สำคัญ คือ ดูด (absorption) น้ำและแร่ธาตุจากดินเข้าไปในลำต้น ลำเลียง (conduction) น้ำและแร่ธาตุรวมทั้งอาหารซึ่งพืชสะสมไว้ในรากขึ้นสู่ส่วนต่างๆ ของลำต้น เป็นแหล่งสร้างฮอร์โมน (producing hormones) นอกจากนี้ ยังมีบทบาทสำคัญในการยึดเกาะ (anchorage) ลำต้นให้ติดกับพื้นดิน และการเสริมแรง ป้องกันการพังทลายของดินในพื้นที่ลาดชันได้
สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน) ได้มีการวิจัยและทดสอบเทคโนโลยีในการเลี้ยงหมูหลุม โดยใช้แนวคิดการเลี้ยงด้วยวิธีเกษตรธรรมชาติ เพื่อให้คนในชุมชนได้ประโยชน์จากการเลี้ยงเพื่อเป็นแหล่งโปรตีน การจำหน่ายหมูเป็นรายได้
เกษตรกรมีรายได้จากการปลูกบุก ในขณะเดียวกันไม่เข้าไปบุกรุกพื้นที่ป่าเพื่อทำการเกษตรเชิงเดี่ยว แต่กลับทำให้มีพื้นที่ป่า/พื้นที่สีเขียวเพิ่มขึ้นอีกทางหนึ่งด้วย ทำให้ “คนบนพื้นที่สูงอยู่กับป่าได้อย่างเกื้อกูล สมดุล มั่นคง และยั่งยืน”
ผลิตภัณฑ์ชุมชน “ลูกประคบ” ของชุมชนบ้านกิ่วโป่งผลิตภัณฑ์ลูกประคบสามารถสร้างรายได้เสริมให้กับชุมชน
ถั่ว เป็นพืชอาหารที่ใกล้ตัวของเรา เป็นแหล่งโปรตีนที่มีต้นทุนการผลิตต่ำและมีราคาถูกกว่าโปรตีนจากสัตว์ จึงใช้เป็นอาหารเสริมเพิ่มคุณค่าทางโภชนาการสำหรับคนและปศุสัตว์ พืชตระกูลถั่ว
"แบคทีเรียดี...มีประโยชน์” “สิ่งมีชีวิตขนาดเล็กมาก” ที่ไม่ควรมองข้าม แบคทีเรียเป็นสิ่งมีชีวิตกลุ่มใหญ่กลุ่มหนึ่งที่ไม่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่า พบทั่วไปในธรรมชาติ ดิน น้ำ และอากาศ ส่วนใหญ่มีรูปร่างกลม (Cocci) แท่ง (Bacilli, Rod) และเกลียว (Spiral) มีเซลล์เดียวและโครงสร้างไม่ซับซ้อน
สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน) ได้ทำการศึกษา รวบรวมภูมิปัญญาและการใช้ประโยชน์จากความหลากหลายทางชีวภาพบนพื้นที่สูง จากการศึกษาพบว่า ตะไคร้ต้นเป็นพืชท้องถิ่นบนพื้นที่สูงอีกชนิดหนึ่งที่มีศักยภาพสามารถนำมาพัฒนาต่อยอดใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ได้
พิธีไหว้ดงเซ้ง จึงเป็นพิธีกรรมระดับชุมชนที่เป็นศูนย์รวมของคนในหมู่บ้าน แต่ละครอบครัวจะช่วยกันจัดเตรียมเครื่องเซ่นไหว้ ประกอบด้วย ธูปเทียน เหล้า น้ำอัดลม หมูดำตัวผู้ หรือไก่ตัวผู้และตัวเมีย 1 คู่ รวมถึงกระดาษเงินกระดาษทองสำหรับเผาให้เจ้าที่ตามจำนวนที่ได้บนบานไว้ในปีที่ผ่านมา
ลูกชิดมาจากต้นตาวหรือต้นต๋าว ส่วนลูกจากมาจากต้นจาก เดิมพืชทั้งสองชนิดนี้ถูกจัดแบ่งอยู่ในวงศ์ที่แตกต่างกัน โดยต๋าวจัดอยู่ในวงศ์ PALMACEAE หรือ PALMAE ส่วนจากอยู่ในวงศ์ NYPACEAE แต่ปัจจุบันพืชทั้งสองชนิดถูกจัดอยู่ในวงศ์เดียวกัน คือ ARECACEAE
พีพี-สเตร็บโต เป็นอีกผลิตภัณฑ์ที่มีคุณสมบัติพิเศษโดยเชื้อจุลินทรีย์ที่เป็นส่วนประกอบหลักสามารถผลิตสารปฏิชีวนะ (antibiotics) ชื่อ สเตรปโตมัยซิน ซึ่งมีฤทธิ์กำจัดเชื้อราพิเทียมสาเหตุโรครากเน่าโคนเน่า (damping off disease) ได้สูงถึง 80 เปอร์เซ็นต์ ใกล้เคียงกับการใช้สารเคมี ในขณะเดียวกันยังกระตุ้นให้ต้นพืชสร้างรากมากขึ้น ช่วยเพิ่มการดูดซึมและลำเลียงแร่ธาตุ จึงเจริญเติบโตเร็วและแข็งแรงกว่าเดิม
จากการเก็บตัวอย่างดินในแปลงนาขั้นบันไดซึ่งเป็นแปลงที่ปลูกข้าวไร่มาก่อน ไปวิเคราะห์สมบัติดินและปริมาณธาตุอาหารในดิน พบว่าส่วนใหญ่ดินเป็นดินเหนียว มี pH 4.76 – 5.36 ซึ่งเป็นกรดจัดมาก ปริมาณอินทรียวัตถุปานกลาง ปริมาณธาตุอาหารต่ำโดยเฉพาะธาตุอาหารหลัก
การพัฒนาต่อยอดภูมิปัญญาการใช้ประโยชน์พืชสมุนไพรและยาพื้นบ้านของชุมชนบนพื้นที่สูง โดยหาแนวทางยกระดับพืชสมุนไพรท้องถิ่นต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์ชุมชน “ยาดมเขย่า”
การพัฒนากระบวนการอบแห้งในปัจจุบันนิยมทำในบริเวณที่ใกล้กับสถานที่เพาะปลูก เพื่อสามารถนำไปอบแห้งทันที ดังเช่นในพื้นที่ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงสะโงะ ที่เน้นส่งเสริมพืชสมุนไพร ได้แก่ เก็กฮวย คาโมมายล์ และพืชสมุนไพรต่างๆ โดยส่งเสริมให้เกษตรกรเพาะปลูกเพื่อการแปรรูปเป็นหลัก
ดอกเก๊กฮวย และดอกคาโมมายล์มาแปรรูปเป็นชาดอกไม้อบแห้ง โดยการใช้เทคโนโลยีการอบแห้งซึ่งมีความสำคัญต่อกระบวนการแปรรูปเป็นอย่างมากในการลดปริมาณน้ำออกจากผลิตผล