สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน) มีเป้าหมายในการพัฒนาชุมชนบนพื้นที่สูง ขยายองค์ความรู้ของโครงการหลวงในการวิจัยและพัฒนา โดยการทำการเกษตรแบบประณีตอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมเพื่อแก้ไขปัญหาระดับพื้นที่ นอกจากนั้นสถาบันให้ความสำคัญในการพัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัลและการบริหารจัดการข้อมูลเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการองค์กรมาใช้ในการพัฒนาเกษตรบนพื้นที่สูง
การทำแนวกันไฟ (Firebreak) ในพื้นที่ป่าต้นน้ำของชุมชนบนพื้นที่สูง เพื่อป้องกันและลดความเสียหายเมื่อเกิดเหตุการณ์ไฟป่า โดยวิธีการกำจัดเชื้อเพลิงที่ทำให้เกิดไฟป่า เช่น ใบไม้ กิ่งไม้ โดยกำจัดเชื้อเพลิงออกไปทั้งหมดจนถึงพื้นดิน ทำเป็นแนวกว้างไม่น้อยกว่า 8 เมตร ตามลักษณะภูมิประเทศ
ถั่วลอดยังสามารถนำมาเป็นอาหารและจำหน่ายได้ในชุมชน ทั้งในรูปฝักอ่อน ฝักแก่ และเมล็ด เช่น ฝักสดต้มกินกับน้ำพริก ตำถั่ว เมล็ดใช้ประกอบอาหารเช่นเดียวกับถั่วดำ เมื่อวิเคราะห์หาคุณค่าทางโภชนาการของถั่วลอดฝักสดที่ปลูกร่วมในพื้นที่ปลูกข้าวไร่และข้าวโพด
หอมญี่ปุ่น หรือ ต้นหอมยักษ์ เป็นพืชที่เราเคยเห็นในเมนูอาหารต่างๆ ได้แก่ สุกี้ยากี้ เนื้อย่าง หอมญี่ปุ่นผัดไข่ หอมญี่ปุ่นชุบแป้งทอด หรือในน้ำซุป เป็นต้น โดยเรานิยมบริโภคเฉพาะตรงส่วนลำต้นที่เป็นสีขาวซึ่งมีกลิ่นหอม และรสหวาน
การปลูกองุ่นในประเทศไทยสามารถให้ผลผลิตที่มีคุณภาพได้ แต่ไทยเป็นประเทศที่อยู่ในเขตร้อนชื้น จึงมักพบโรคและแมลงศัตรูที่สำคัญที่สร้างความเสียหายให้กับองุ่น เช่น โรคราน้ำค้าง โรคราแป้ง โรคแอนแทรคโนส เพลี้ยไฟ เพลี้ยแป้ง และหนอนกระทู้ เป็นต้น
“ชอบกินอะไรก็ปลูกสิ่งนั้น” แนวคิดและคำพูดของพ่อ หรือ นายโอด โขงทอง ปัจจุบันอายุ 68 ปี เกษตรกรบ้านต้นผึ้ง ในโครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงโป่งคำ ตำบลพงษ์ อำเภอสันติสุข จังหวัดน่าน ที่ได้สอนและบอกลูกสาว หรือ นางดาวิภา อิทธิรัตน์ ปัจจุบันอายุ 39 ปี ซึ่งผันชีวิตตนเองจาก การทำงานในกรุงเทพฯ กลับมาอยู่บ้านช่วยเหลือกิจกรรมในหมู่บ้าน ปัจจุบันได้ทำงานเป็นผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านและทำเกษตรผสมผสานตามรอยพ่อ
ทำไมไข่ไก่ถึงมีเปลือกสีขาว? สาเหตุที่ไข่ไก่มีเปลือกสีขาวนี้เกิดจากสายพันธุ์ของ “แม่ไก่” ที่สร้างเม็ดสีของเปลือกไข่ขึ้นระหว่างสร้างไข่ในรังไข่
ปัญหาสำคัญที่พบคือ โรคและแมลงศัตรูกาแฟ จากสภาพอากาศที่อุณหภูมิเฉลี่ยมีแนวโน้มสูงขึ้น หรือภาวะฝนทิ้งช่วง ทำให้เกิดปัญหาการระบาดของโรคราสนิม โรคผลดำ และแมลงกลุ่มด้วงปากกัด ซึ่งสร้างความเสียหายในแปลงปลูกกาแฟของเกษตรกรเป็นอย่างมาก
กระเทียม เป็นพืชสมุนไพรและพืชเครื่องเทศที่เป็นส่วนประกอบสำคัญในอาหารไทยที่อุดมไปด้วยคุณค่าทางโภชนาการ ที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย เช่น อัลลิซิน (Allicin) และกรดไขมันต่างๆ กระเทียมไทยจะมีกลิ่นฉุนและรสชาติค่อนข้างเผ็ดร้อน ทำให้หลายคนไม่ชอบรับประทาน แต่กลิ่นที่ฉุนนี้กลับเป็นเอกลักษณ์ของกระเทียมซึ่งมีสรรพคุณทางโภชนเภสัช ช่วยป้องกันและลดความรุนแรงของกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (Non-communicable diseases, NCDs) ได้แก่ กลุ่มโรคหัวใจและหลอดเลือด (โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจขาดเลือด โรคหลอดเลือดสมอง) และโรคเบาหวาน เป็นต้น สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูงได้ส่งเสริมให้เกษตรกรบนพื้นที่สูงปลูกกระเทียมเป็นพืชทางเลือกหลังฤดูทำนาสำหรับบริโภคในครัวเรือน โดยใช้ปัจจัยการผลิตอินทรีย์ ผลผลิตกระเทียมที่ได้สามารถเก็บรักษาไว้ได้ตลอดทั้งปี และสามารถนำมาต่อยอดเพิ่มมูลค่าเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหารจากวัตถุดิบกระเทียมอินทรีย์ที่มีคุณภาพ และเป็นผลิตภัณฑ์อาหารเสริมสำหรับผู้ที่ต้องการบริโภคสรรพคุณของกระเทียมแต่ไม่ชื่นชอบกลิ่นหรือความฉุน จากผลการวิจัย พบว่าน้ำมันกระเทียมอินทรีย์ที่ได้จากกระเทียมอินทรีย์ มีปริมาณสารอัลลิซิน (Allicin) ที่มีส่วนสำคัญในการช่วยลดโคเลสเตอรอล (Cholesterol) สูงกว่าน้ำมันกระเทียมที่ปลูกทั่วไป (เคมี) และยังพบว่ามีปริมาณกรดไขมันที่เป็นประโยชน์ เช่น โอเมก้า-3 (Linolenic acid (C18:3 n-3)) โอเมก้า-6 (Linoleic acid (C18:2 n-6 cis)) และโอเมก้า-9 (Oleic acid (C18:1 n-9 cis)) ที่สูงกว่าน้ำมันกระเทียมที่ปลูกทั่วไปอีกด้วย ซึ่งโอเมก้า-3 ประกอบไปด้วยกรดไขมันที่มีบทบาทสำคัญต่อสมอง คือ ดีเอชเอ (Docosahexaenoic acid (DHA)) ส่วนกรดไขมันโอเลอิก (Oleic acid) และกรดไขมันปาล์มาติก (Palmitic) และกรดไขมันสเตียริก (Stearic acids) ช่วยในการคลายตัวและขยายตัวของหลอดเลือด ลดความดันโลหิต และมีสารต้านอนุมูลอิสระ ผลิตภัณฑ์น้ำมันกระเทียมอินทรีย์ช่วยให้การรับประทานกระเทียมไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป ผลิตภัณฑ์น้ำมันกระเทียมอินทรีย์ บรรจุแคปซูลนิ่ม (Soft gel) ใน 1 แคปซูลมีน้ำมันกระเทียม (Garlic oil) 220 มิลลิกรัม เทียบเท่ากระเทียมสด 2,186.4 มิลลิกรัม
ผลิตภัณฑ์ไม้ประดับแห้ง ภายใต้ตราสินค้า “บุหงาโครงการหลวง” ได้รับความนิยมจากผู้บริโภคไม้ประดับแห้งในวงกว้าง โดยได้ประยุกต์ใช้ผลิตผล ทางการเกษตร ไม้ดอกหรือไม้ล้มลุกที่ปลูกในพื้นที่โครงการหลวง นำมาเป็นวัตถุดิบเพื่อแปรรูปเป็นไม้ประดับแห้ง เช่น ดอกจิบโซฟิลล่า ดอกไฮเดรนเยีย เฟิร์นชนิดต่างๆ รวงข้าวสาลี เป็นต้น แต่ยังมีพันธุ์ไม้ป่าบนพื้นที่สูงทางภาคเหนืออีกหลายชนิด ที่นอกจากการนำเนื้อไม้มาใช้ประโยชน์แล้ว ยังสามารถนำส่วนต่างๆ ของต้นไม้มาเป็นวัตถุดิบในการผลิตผลิตภัณฑ์ไม้ประดับแห้งได้ อาทิเช่น ใบ กิ่ง ดอก และผล ซึ่งเป็นการเพิ่มความหลากหลายของวัตถุดิบที่ใช้โดยไม่จำเป็นต้องตัดฟันไม้ อีกด้วย
ปัจจุบันเครือข่ายความร่วมมือเพื่อการพัฒนาพื้นที่ภูเขานี้ มีสมาชิกทั่วโลกรวมทั้งสิ้น 384 องค์กร ประกอบด้วยหน่วยงานระดับประเทศจำนวน 60 แห่ง องค์กรระหว่างประเทศจำนวน 16 แห่ง หน่วยงานระดับท้องถิ่นจำนวน 8 แห่ง รวมทั้งองค์กรภาคประชาสังคม ภาคธุรกิจ และองค์กรพัฒนาเอกชนจำนวน 300 แห่ง โดยที่สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน) ได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกของเครือข่ายในวันที่ 30 เมษายน 2558
องุ่นพันธุ์ ‘ไชน์ มัสแคท’ (Shine Muscat) ถูกปรับปรุงพันธุ์ขึ้นในปีพ.ศ. 2531 ที่สถานีวิจัยองุ่นและพลับอะกิซึ จังหวัดฮิโรชิม่า ประเทศญี่ปุ่น และขึ้นทะเบียนพันธุ์ในปีพ.ศ. 2549 ลักษณะผลกลมขนาดใหญ่ มีเมล็ด ผิวผลสีเขียวอมเหลือง ไม่แตกง่าย เนื้อแน่น กรอบ ไม่ฝาด มีกลิ่นมัสแคท ทนต่อโรคผลเน่าและราน้ำค้างได้ในระดับปานกลาง
การที่จะรู้ว่า...ดิน...ของเราเป็นยังไง จำเป็นต้องอาศัยการวิเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งในปัจจุบันมีเครื่องมือที่ใช้ง่ายขึ้น โดยไม่ต้องไปถึงห้องปฏิบัติการ (ห้องแลป) เพียงแต่ต้องอาศัยการเรียนรู้และฝึกใช้เครื่องมือที่ว่าให้เป็น เกษตรกรบางพื้นที่ก็สามารถเรียนรู้และวิเคราะห์ดินได้ด้วยตัวเอง สิ่งที่ควรให้ความสนใจ คือ ค่า pH (พีเอช) ของดิน
บัวดิน เป็นไม้ดอกประเภทหัวที่ทนต่อสภาพแห้งแล้ง ปลูกเลี้ยงง่าย และมีดอกสวยงาม ซึ่งดอกมีหลายสี เช่น ขาว ชมพู เหลือง แดง ส้ม จึงนิยมใช้จัดสวน เป็นไม้คลุมดินประดับแปลง และเป็นไม้กระถาง บางพันธุ์มีราคาหัวพันธุ์สูง บางพันธุ์ออกดอกยาก โดยปกติบัผวดินออกดอกในช่วงฤดูฝน ดอกจะบานในช่วงเช้าและหุบในช่วงเย็น ส่วนใหญ่จะบานประมาณ 1 - 3 วัน สามารถขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด หน่อ และการผ่าหัว