ถั่ว เป็นพืชอาหารที่ใกล้ตัวของเรา เป็นแหล่งโปรตีนที่มีต้นทุนการผลิตต่ำและมีราคาถูกกว่าโปรตีนจากสัตว์ จึงใช้เป็นอาหารเสริมเพิ่มคุณค่าทางโภชนาการสำหรับคนและปศุสัตว์ พืชตระกูลถั่ว
"แบคทีเรียดี...มีประโยชน์” “สิ่งมีชีวิตขนาดเล็กมาก” ที่ไม่ควรมองข้าม แบคทีเรียเป็นสิ่งมีชีวิตกลุ่มใหญ่กลุ่มหนึ่งที่ไม่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่า พบทั่วไปในธรรมชาติ ดิน น้ำ และอากาศ ส่วนใหญ่มีรูปร่างกลม (Cocci) แท่ง (Bacilli, Rod) และเกลียว (Spiral) มีเซลล์เดียวและโครงสร้างไม่ซับซ้อน
สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน) ได้ทำการศึกษา รวบรวมภูมิปัญญาและการใช้ประโยชน์จากความหลากหลายทางชีวภาพบนพื้นที่สูง จากการศึกษาพบว่า ตะไคร้ต้นเป็นพืชท้องถิ่นบนพื้นที่สูงอีกชนิดหนึ่งที่มีศักยภาพสามารถนำมาพัฒนาต่อยอดใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ได้
พิธีไหว้ดงเซ้ง จึงเป็นพิธีกรรมระดับชุมชนที่เป็นศูนย์รวมของคนในหมู่บ้าน แต่ละครอบครัวจะช่วยกันจัดเตรียมเครื่องเซ่นไหว้ ประกอบด้วย ธูปเทียน เหล้า น้ำอัดลม หมูดำตัวผู้ หรือไก่ตัวผู้และตัวเมีย 1 คู่ รวมถึงกระดาษเงินกระดาษทองสำหรับเผาให้เจ้าที่ตามจำนวนที่ได้บนบานไว้ในปีที่ผ่านมา
ลูกชิดมาจากต้นตาวหรือต้นต๋าว ส่วนลูกจากมาจากต้นจาก เดิมพืชทั้งสองชนิดนี้ถูกจัดแบ่งอยู่ในวงศ์ที่แตกต่างกัน โดยต๋าวจัดอยู่ในวงศ์ PALMACEAE หรือ PALMAE ส่วนจากอยู่ในวงศ์ NYPACEAE แต่ปัจจุบันพืชทั้งสองชนิดถูกจัดอยู่ในวงศ์เดียวกัน คือ ARECACEAE
พีพี-สเตร็บโต เป็นอีกผลิตภัณฑ์ที่มีคุณสมบัติพิเศษโดยเชื้อจุลินทรีย์ที่เป็นส่วนประกอบหลักสามารถผลิตสารปฏิชีวนะ (antibiotics) ชื่อ สเตรปโตมัยซิน ซึ่งมีฤทธิ์กำจัดเชื้อราพิเทียมสาเหตุโรครากเน่าโคนเน่า (damping off disease) ได้สูงถึง 80 เปอร์เซ็นต์ ใกล้เคียงกับการใช้สารเคมี ในขณะเดียวกันยังกระตุ้นให้ต้นพืชสร้างรากมากขึ้น ช่วยเพิ่มการดูดซึมและลำเลียงแร่ธาตุ จึงเจริญเติบโตเร็วและแข็งแรงกว่าเดิม
จากการเก็บตัวอย่างดินในแปลงนาขั้นบันไดซึ่งเป็นแปลงที่ปลูกข้าวไร่มาก่อน ไปวิเคราะห์สมบัติดินและปริมาณธาตุอาหารในดิน พบว่าส่วนใหญ่ดินเป็นดินเหนียว มี pH 4.76 – 5.36 ซึ่งเป็นกรดจัดมาก ปริมาณอินทรียวัตถุปานกลาง ปริมาณธาตุอาหารต่ำโดยเฉพาะธาตุอาหารหลัก
การพัฒนาต่อยอดภูมิปัญญาการใช้ประโยชน์พืชสมุนไพรและยาพื้นบ้านของชุมชนบนพื้นที่สูง โดยหาแนวทางยกระดับพืชสมุนไพรท้องถิ่นต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์ชุมชน “ยาดมเขย่า”
การพัฒนากระบวนการอบแห้งในปัจจุบันนิยมทำในบริเวณที่ใกล้กับสถานที่เพาะปลูก เพื่อสามารถนำไปอบแห้งทันที ดังเช่นในพื้นที่ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงสะโงะ ที่เน้นส่งเสริมพืชสมุนไพร ได้แก่ เก็กฮวย คาโมมายล์ และพืชสมุนไพรต่างๆ โดยส่งเสริมให้เกษตรกรเพาะปลูกเพื่อการแปรรูปเป็นหลัก
ดอกเก๊กฮวย และดอกคาโมมายล์มาแปรรูปเป็นชาดอกไม้อบแห้ง โดยการใช้เทคโนโลยีการอบแห้งซึ่งมีความสำคัญต่อกระบวนการแปรรูปเป็นอย่างมากในการลดปริมาณน้ำออกจากผลิตผล
การทำแนวกันไฟ (Firebreak) ในพื้นที่ป่าต้นน้ำของชุมชนบนพื้นที่สูง เพื่อป้องกันและลดความเสียหายเมื่อเกิดเหตุการณ์ไฟป่า โดยวิธีการกำจัดเชื้อเพลิงที่ทำให้เกิดไฟป่า เช่น ใบไม้ กิ่งไม้ โดยกำจัดเชื้อเพลิงออกไปทั้งหมดจนถึงพื้นดิน ทำเป็นแนวกว้างไม่น้อยกว่า 8 เมตร ตามลักษณะภูมิประเทศ
ถั่วลอดยังสามารถนำมาเป็นอาหารและจำหน่ายได้ในชุมชน ทั้งในรูปฝักอ่อน ฝักแก่ และเมล็ด เช่น ฝักสดต้มกินกับน้ำพริก ตำถั่ว เมล็ดใช้ประกอบอาหารเช่นเดียวกับถั่วดำ เมื่อวิเคราะห์หาคุณค่าทางโภชนาการของถั่วลอดฝักสดที่ปลูกร่วมในพื้นที่ปลูกข้าวไร่และข้าวโพด
หอมญี่ปุ่น หรือ ต้นหอมยักษ์ เป็นพืชที่เราเคยเห็นในเมนูอาหารต่างๆ ได้แก่ สุกี้ยากี้ เนื้อย่าง หอมญี่ปุ่นผัดไข่ หอมญี่ปุ่นชุบแป้งทอด หรือในน้ำซุป เป็นต้น โดยเรานิยมบริโภคเฉพาะตรงส่วนลำต้นที่เป็นสีขาวซึ่งมีกลิ่นหอม และรสหวาน
การปลูกองุ่นในประเทศไทยสามารถให้ผลผลิตที่มีคุณภาพได้ แต่ไทยเป็นประเทศที่อยู่ในเขตร้อนชื้น จึงมักพบโรคและแมลงศัตรูที่สำคัญที่สร้างความเสียหายให้กับองุ่น เช่น โรคราน้ำค้าง โรคราแป้ง โรคแอนแทรคโนส เพลี้ยไฟ เพลี้ยแป้ง และหนอนกระทู้ เป็นต้น
“ชอบกินอะไรก็ปลูกสิ่งนั้น” แนวคิดและคำพูดของพ่อ หรือ นายโอด โขงทอง ปัจจุบันอายุ 68 ปี เกษตรกรบ้านต้นผึ้ง ในโครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงโป่งคำ ตำบลพงษ์ อำเภอสันติสุข จังหวัดน่าน ที่ได้สอนและบอกลูกสาว หรือ นางดาวิภา อิทธิรัตน์ ปัจจุบันอายุ 39 ปี ซึ่งผันชีวิตตนเองจาก การทำงานในกรุงเทพฯ กลับมาอยู่บ้านช่วยเหลือกิจกรรมในหมู่บ้าน ปัจจุบันได้ทำงานเป็นผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านและทำเกษตรผสมผสานตามรอยพ่อ
ทำไมไข่ไก่ถึงมีเปลือกสีขาว? สาเหตุที่ไข่ไก่มีเปลือกสีขาวนี้เกิดจากสายพันธุ์ของ “แม่ไก่” ที่สร้างเม็ดสีของเปลือกไข่ขึ้นระหว่างสร้างไข่ในรังไข่
ปัญหาสำคัญที่พบคือ โรคและแมลงศัตรูกาแฟ จากสภาพอากาศที่อุณหภูมิเฉลี่ยมีแนวโน้มสูงขึ้น หรือภาวะฝนทิ้งช่วง ทำให้เกิดปัญหาการระบาดของโรคราสนิม โรคผลดำ และแมลงกลุ่มด้วงปากกัด ซึ่งสร้างความเสียหายในแปลงปลูกกาแฟของเกษตรกรเป็นอย่างมาก
กระเทียม เป็นพืชสมุนไพรและพืชเครื่องเทศที่เป็นส่วนประกอบสำคัญในอาหารไทยที่อุดมไปด้วยคุณค่าทางโภชนาการ ที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย เช่น อัลลิซิน (Allicin) และกรดไขมันต่างๆ กระเทียมไทยจะมีกลิ่นฉุนและรสชาติค่อนข้างเผ็ดร้อน ทำให้หลายคนไม่ชอบรับประทาน แต่กลิ่นที่ฉุนนี้กลับเป็นเอกลักษณ์ของกระเทียมซึ่งมีสรรพคุณทางโภชนเภสัช ช่วยป้องกันและลดความรุนแรงของกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (Non-communicable diseases, NCDs) ได้แก่ กลุ่มโรคหัวใจและหลอดเลือด (โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจขาดเลือด โรคหลอดเลือดสมอง) และโรคเบาหวาน เป็นต้น สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูงได้ส่งเสริมให้เกษตรกรบนพื้นที่สูงปลูกกระเทียมเป็นพืชทางเลือกหลังฤดูทำนาสำหรับบริโภคในครัวเรือน โดยใช้ปัจจัยการผลิตอินทรีย์ ผลผลิตกระเทียมที่ได้สามารถเก็บรักษาไว้ได้ตลอดทั้งปี และสามารถนำมาต่อยอดเพิ่มมูลค่าเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหารจากวัตถุดิบกระเทียมอินทรีย์ที่มีคุณภาพ และเป็นผลิตภัณฑ์อาหารเสริมสำหรับผู้ที่ต้องการบริโภคสรรพคุณของกระเทียมแต่ไม่ชื่นชอบกลิ่นหรือความฉุน จากผลการวิจัย พบว่าน้ำมันกระเทียมอินทรีย์ที่ได้จากกระเทียมอินทรีย์ มีปริมาณสารอัลลิซิน (Allicin) ที่มีส่วนสำคัญในการช่วยลดโคเลสเตอรอล (Cholesterol) สูงกว่าน้ำมันกระเทียมที่ปลูกทั่วไป (เคมี) และยังพบว่ามีปริมาณกรดไขมันที่เป็นประโยชน์ เช่น โอเมก้า-3 (Linolenic acid (C18:3 n-3)) โอเมก้า-6 (Linoleic acid (C18:2 n-6 cis)) และโอเมก้า-9 (Oleic acid (C18:1 n-9 cis)) ที่สูงกว่าน้ำมันกระเทียมที่ปลูกทั่วไปอีกด้วย ซึ่งโอเมก้า-3 ประกอบไปด้วยกรดไขมันที่มีบทบาทสำคัญต่อสมอง คือ ดีเอชเอ (Docosahexaenoic acid (DHA)) ส่วนกรดไขมันโอเลอิก (Oleic acid) และกรดไขมันปาล์มาติก (Palmitic) และกรดไขมันสเตียริก (Stearic acids) ช่วยในการคลายตัวและขยายตัวของหลอดเลือด ลดความดันโลหิต และมีสารต้านอนุมูลอิสระ ผลิตภัณฑ์น้ำมันกระเทียมอินทรีย์ช่วยให้การรับประทานกระเทียมไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป ผลิตภัณฑ์น้ำมันกระเทียมอินทรีย์ บรรจุแคปซูลนิ่ม (Soft gel) ใน 1 แคปซูลมีน้ำมันกระเทียม (Garlic oil) 220 มิลลิกรัม เทียบเท่ากระเทียมสด 2,186.4 มิลลิกรัม